เมนู

อสังขตสังยุต



วรรคที่ 2



ว่าด้วยอสังขตะและทางให้ถึงอสังขตะ



[685] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะ และทางที่
จะให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึง
อสังขตะเป็นไฉน. คือสมถะ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาพึงแสวงหา
ประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัย
ความอนุเคราะห์ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้
นั่นเรือนว่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเรา เพื่อเธอ
ทั้งหลาย.
[686] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะและทางที่จะ
ให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึง

อสังขตะเป็นไฉน. คือ วิปัสสนานี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯลฯ นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
[687] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
คือ สมาธิมีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .
[688] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
คือ สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[689] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
คือ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[690] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
คือ สุญญตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .
[691] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
คือ อนิมิตตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .
[692] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
คือ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .
[693] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .

[694] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.
[695] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา-
กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.
[696] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.
[697] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น
พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็น
บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.
[698] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น
พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมอันเป็นบาป
อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[699] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น
พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อยังธรรมอันเป็นกุศล
ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[700] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความ
ไม่เลอะเลือน ความเพิ่มพูน ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์
แห่งธรรมอันเป็นกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[701] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[702] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[703] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[704] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[705] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง
อสังขตะ. . .
[706] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[707] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสตินทรีย์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงสังขตะ. . .
[708] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธินทรีย์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[709] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[710] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[711] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางทั้งจะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยพละอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[712] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติพละอันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง
อสังขตะ. . .
[713] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธิพละอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ . . .
[714] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญาพละ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[715] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่า
ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[716] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์. . . วิริยะสัมโพชฌงค์. . . ปิติสัมโพชฌงค์. . .ปัสสัทธิ.
สัมโพชฌงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง
อสังขตะ. . .
[717] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่
จะให้ถึงอสังขตะ. . .
[718] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ. . .
สัมมาวาจา . . .สัมมากัมมันตะ. . . สัมมาอาชีวะ. . . สัมมาวายามะ. . .
สัมมาสติอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ
นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .
[719] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดอัน
ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ พึงกระทำแล้วแก่สาวก
ทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแต่เธอทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.
[720] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่สุดและทางที่จะให้
ถึงที่สุดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่สุด
เป็นไฉน ฯลฯ.
[721] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้
และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นไฉน ฯลฯ.
[722] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่จริงแท้ และ
ทางที่จะถึงธรรมที่จริงแท้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ธรรมที่จริงแท้เป็นไฉน ฯลฯ.
[723] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นฝั่ง และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันเป็นฝั่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นฝั่งเป็นไฉน ฯลฯ.

[724] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันละเอียด และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันละเอียดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันละเอียดเป็นไฉน ฯลฯ
[725] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเห็นได้แสนยาก
และทางที่จะให้ถึงธรรมอันเห็นได้แสนยากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเห็นได้แสนยากเป็นไฉน ฯลฯ.
[726] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่คร่ำคร่า
และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่คร่ำคร่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่คร่ำคร่าเป็นไฉน ฯลฯ
[727] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันยั่งยืน และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันยั่งยืนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันยั่งยืนเป็นไฉน ฯลฯ.
[728] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ทรุดโทรม
และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ทรุดโทรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ทรุดโทรมเป็นไฉน ฯลฯ.
[729] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันใคร ๆ ไม่พึง
เห็นด้วยจักษุวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันใคร ๆ ไม่พึงเห็นด้วย
จักษุวิญญาณแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันใคร ๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ.

[730] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่มีกิเลส
เครื่องให้เนิ่นช้า และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่มี
กิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าเป็นไฉน ฯลฯ.
[731] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันสงบ และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันสงบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ธรรมอันสงบเป็นไฉน ฯลฯ.
[732] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ตาย และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ตายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ตายเป็นไฉน ฯลฯ.
[733] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันประณีต และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันประณีตแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันประณีตเป็นไฉน ฯลฯ.
[734] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเยือกเย็น และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันเยือกเย็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเยือกเย็นเป็นไฉน ฯลฯ.
[735] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปลอดภัย และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันปลอดภัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปลอดภัยเป็นไฉน ฯลฯ.

[736] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ.
[737] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันอัศจรรย์ และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันอัศจรรย์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันอัศจรรย์เป็นไฉน ฯลฯ.
[738] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เคยมี
เคยเป็น และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นเป็นไฉน
ฯลฯ.
[739] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่มีทุกข์ และ
ทางที่จะให้ถึงความไม่มีทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ความไม่มีทุกข์เป็นไฉน ฯลฯ.
[740] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาทุกข์มิได้
สละทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาทุกข์มิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาทุกข์มิได้เป็นไฉน ฯลฯ.
[741] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน และทางที่จะ
ให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็นิพพานเป็นไฉน ฯลฯ.

[742] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความ
เบียดเบียนมิได้ และทางที่จะไห้ถึงธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้แก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความ
เบียดเบียนมิได้เป็นไฉน ฯลฯ.
[743] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปราศจาก
ความกำหนัด และทางที่จะให้ถึงธรรมอันปราศจากความกำหนัดแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปราศจาก
ความกำหนัดเป็นไฉน ฯลฯ.
[744] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์ และ
ทางที่จะให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ความบริสุทธิ์เป็นไฉน ฯลฯ.
[745] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความพ้น และทางที่
จะให้ถึงความพ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ความพ้นเป็นไฉน ฯลฯ.
[746] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความอาลัย
มิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความอาลัยมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความอาลัยมิได้เป็นไฉน
ฯลฯ.
[747] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงที่พึ่ง และทางที่จะให้
ทางที่พึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่พึ่ง
เป็นไฉน ฯลฯ.

[748] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่เร้น และทางที่จะ
ให้ถึงที่เร้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่
เร้นเป็นไฉน ฯลฯ.
[749] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่ต้านทาน และทาง
ที่จะให้ถึงที่ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ต้านทานเป็นไฉน ฯลฯ.
[750] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสรณะ และทางที่จะ
ให้ถึงสรณะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
สรณะเป็นไฉน ฯลฯ.
[851] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
เป็นไฉน. ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า
ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงธรรม
เป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน. ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
คือ กายคตาสติ นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรม
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อแลผู้อนุเคราะห์ พึงทำ
แก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ ทำแล้วแก่เธอ

ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน
ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ( พึงขยายความ
ให้พิสดารเหมือนอย่างอสังขตะ)
จบ วรรคที่ 2

อรรถกถาอสังขตสังยุต



อรรถกถาวรรคที่ 1 และที่ 2



บทว่า อสํขตํ ได้แก่อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว. บทว่า หิเตสินา
แปลว่า ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า
อนุเคราะห์อยู่. บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ความว่า กำหนดด้วยจิต
คิดช่วยเหลือ ท่านอธิบายว่า อาศัย ดังนี้ก็มี. บทว่า กตํ โว ตํ มยา
ความว่า ศาสดาเมื่อแสดงอสังขตะและทางแห่งอสังขตะนี้ ชื่อว่า ทำกิจ
แก่เธอทั้งหลายแล้ว กิจคือการแสดงธรรมไม่วิปริต ของศาสดาผู้อนุเคราะห์
ก็เพียงนี้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติต่อจากนี้ เป็นกิจของสาวกทั้งหลาย. ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอตานิ ภิกฺขเว รุกฺขมูลานิ
ฯเปฯ อมฺหากํ อนุสาสนี
ดังนี้ ด้วยบทนี้ ทรงแสดงเสนาสนะคือ
โคนไม้. ด้วยบทว่า สุญฺญาคารานิ นี้ ทรงแสดงสถานที่ที่สงัดจากชน
และด้วยบททั้งสองทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางกาย
และใจ ชื่อว่าทรงมอบ มรดกให้. บทว่า ฌายถ ความว่า จงเข้าไปเพ่ง