เมนู

ดังนี้ และภิกษุเหล่าใด ย่อมเป็นผู้มีกัมมัฏฐานเป็นสัปปายะ ในที่นั้น เรา
จักบอกกัมมัฏฐานแก่ภิกษุเหล่านั้นดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปหาข้าพเจ้าจักกล่าว
บทที่ท่านกล่าวไว้ในบทเป็นอาทิว่า กาเย กายานุปสฺสี นั้น ข้างหน้า บทว่า
อนิจฺจานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง. บทว่า วยานุปสฺสี คือ
พิจารณาเห็นความเสื่อม. บทว่า วิราคานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความคลาย
กำหนัด บทว่า นิโรธานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความดับ. บทว่า ปฏินิ-
สฺสคฺคานุปสฺสี
คือพิจารณาเห็นความสละคือคืน.
ถามว่า อะไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้วด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้. ตอบว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุของภิกษุนี้ แม้สติปัฏฐาน
ย่อมเป็นส่วนเบื้องต้นอย่างเดียว. อนุปัสสนา 3 แม้เหล่านี้ คือ อนิจจา-
นุปัสสนา วยานุปัสนา วิราคานุปัสสนา แม้ในสัมปชัญญะ ย่อมเป็นส่วน
เบื้องต้นอย่างเดียว. นิโรธานุปัสสนา แม้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทั้ง 2
เหล่านี้ ย่อมเป็นมิสสกะคลุกเคล้ากัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึง
เวลาภาวนาสำหรับภิกษุนี้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้. คำที่เหลือมีนัยอันกล่าว
แล้วทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาปฐมเคลัญญสูตรที่ 7

8. ทุติเคลัญญสูตร



ว่าด้วยควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ


[382] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลาป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบน

อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลานี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ.
[383] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่าง
นี้แล.
[384] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึก
ว่าในการก้าวไป ในการถอยกลับ ฯลฯ ในการพูด ในการนิ่ง ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ
[385] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า
สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็สุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัย
ไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้เอง ก็แต่ว่าผัสสะนี้ไม่เที่ยง ปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง ปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วแก่เรา จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อม
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณา

เห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน
เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณา
เห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน
ในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและในสุขเวทนา
เสียนี้.
[386] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ มีสัมปชัญญะ
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อม
เกิดขึ้น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขม-
ขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อทุกขมสุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น
ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้แลบังเกิดขึ้น ก็ผัสสะนี้แล
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุข-
เวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า
เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา
เธอย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า
เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนา
นั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุข-
เวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย
เวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด รู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่า
เพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.

[387] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัย
น้ำมันและไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึง
ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวย
เวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้
ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็น
ในโลกนี้ทีเดียว.
จบ ทุติยเคลัญญสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยเคลัญญสูตรที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเคลัญญสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
เมื่อพระองค์ตรัสว่า อิมเมว ผสฺสํ ปฏิจฺจ ดังนี้ พระองค์ตรัส
โดยอัธยาศัยสำหรับผู้รู้ทั้งหลาย. แต่ว่าโดยความหมายนั้นไม่มีเหตุอันต่าง ๆ
กัน. ที่แท้ กายเท่านั้น ตรัสว่า ผัสสะ ในที่นี้.
จบ อรรถกถาทุติยเคลัญญสูตรที่ 8

9. อนิจจสูตร

1

ว่าด้วยเวทนา 3 เป็นของไม่เที่ยง



[388] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนา 3 เหล่านี้ไม่เที่ยง อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็น
1. สูตรที่ 9 อรรถว่าง่ายทั้งนั้น