เมนู

ดังนี้ และภิกษุเหล่าใด ย่อมเป็นผู้มีกัมมัฏฐานเป็นสัปปายะ ในที่นั้น เรา
จักบอกกัมมัฏฐานแก่ภิกษุเหล่านั้นดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปหาข้าพเจ้าจักกล่าว
บทที่ท่านกล่าวไว้ในบทเป็นอาทิว่า กาเย กายานุปสฺสี นั้น ข้างหน้า บทว่า
อนิจฺจานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง. บทว่า วยานุปสฺสี คือ
พิจารณาเห็นความเสื่อม. บทว่า วิราคานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความคลาย
กำหนัด บทว่า นิโรธานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความดับ. บทว่า ปฏินิ-
สฺสคฺคานุปสฺสี
คือพิจารณาเห็นความสละคือคืน.
ถามว่า อะไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้วด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้. ตอบว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุของภิกษุนี้ แม้สติปัฏฐาน
ย่อมเป็นส่วนเบื้องต้นอย่างเดียว. อนุปัสสนา 3 แม้เหล่านี้ คือ อนิจจา-
นุปัสสนา วยานุปัสนา วิราคานุปัสสนา แม้ในสัมปชัญญะ ย่อมเป็นส่วน
เบื้องต้นอย่างเดียว. นิโรธานุปัสสนา แม้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทั้ง 2
เหล่านี้ ย่อมเป็นมิสสกะคลุกเคล้ากัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึง
เวลาภาวนาสำหรับภิกษุนี้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้. คำที่เหลือมีนัยอันกล่าว
แล้วทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาปฐมเคลัญญสูตรที่ 7

8. ทุติเคลัญญสูตร



ว่าด้วยควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ


[382] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลาป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบน