เมนู

บทว่า อปโลเกตฺวา ความว่า น้อมกายเข้าไป ยืดท้อง ชูคอ
เพ่งดูไปในทิศทั้งปวง. บทว่า พาเธตพฺพํ มญฺเญยฺย ความว่า จิตตะ-
คฤหบดีนั้น พึงเข้าใจว่า พึงห้ามลม หรือพึงผูกไว้ด้วยตาข่าย โดยประการ
ที่ลมจะออกไปไม่ได้ฉะนั้น.
บทว่า สหธมฺมิกา คือพร้อมด้วยเหตุ. บทว่า ปฐมํ ปฏิหเรยฺยาสิ
สทฺธึ นิคฺคณฺฐปริสาย
ความว่า เมื่อท่านรู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้น
แล้ว พึงบอกกับนิครนถ์บริษัทก่อน ท่านมายังสำนักของเราผู้สนับสนุน
แล้ว พึงประกาศให้บริษัทรู้ว่าตนมาแล้ว ดังนี้. บทว่า เอโก ปญฺโห
คือมรรคปัญหาหนึ่ง. อธิบายว่า การแสวงหาปัญหาหนึ่ง. บทว่า เอโก
อุทฺเทโส
คือ อะไร ชื่อว่าหนึ่ง. หนึ่งนี้ คืออุเทศ. บทว่า เอกํ พฺยากรณํ
ความว่า คำนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ชื่อว่า
ไวยากรณ์หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้.
จบ อรรถกถานิคัณฐสูตรที่ 8

9. อเจลสูตร



ว่าด้วยอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัสสนะ



[580] ก็สมัยนั้นแล อเจลกัสสปได้เคยเป็นสหายของจิตต-
คฤหบดี เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้ไปถึงราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดี
ได้สดับข่าวว่า อเจลกัสสปผู้เคยเป็นสหายของเราเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์
ได้มาถึงราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาอเจล-
กัสสปแล้ว ได้ปราศรัยกับอเจลกัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง