เมนู

กา. ดูก่อนคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขาร
ดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไปไออุ่นสงบ
อินทรีย์แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโร กายสังขารดับสงบ
วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ ( แต่ ) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่น ยังไม่สงบ
อินทรีย์ผ่องใส ดูก่อนคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาลแล้ว กับภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธมีความต่างกันอย่างนี้.

ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ



[566] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้
ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิต-
นิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร.
กา. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลัง
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไป
เพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[567] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว
ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร
หรือจิตตสังขารเกิดก่อน.

กา. ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
จิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขาร
จึงเกิด.
[568] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม
ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุ
ผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
กา. ดูก่อนคฤหบดี ผัสสะ 3 อย่างคือ สุญญผัสสะ 1 อนิมิตตผัสสะ 1
อัปปณิหิตผัสสะ 1 ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
[569] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม
ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญา-
เวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร
เงื้อมไปสู่อะไร.
กา. ดูก่อนคฤหบดีจิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่วิเวก.
[570] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาบัติ.
กา. ดูก่อนคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย
แต่ว่าอาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 2 อย่าง คือ
สมถะ 1 วิปัสสนา 1 ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
จบ ทุติยกามภูสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยกามภูสูตรที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกามภูสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้.
บทว่า กติ นุโข ภนฺเต สงฺขารา ความว่า ได้ยินว่า คฤหบดี
ย่อมค้นหานิโรธ เพราะฉะนั้น จึงคิดว่าเราจักถามสังขารทั้งหลายอันเป็น
บาทแห่งนิโรธ จึงได้กล่าวอย่างนี้. แม้พระเถระก็รู้ความประสงค์ของ
คฤหบดีนั้นแล้ว เมื่อสังขารหลายอย่างมีบุญญาภิสังขารเป็นต้น แม้มีอยู่
เมื่อจะบอกกายสังขารเป็นต้น จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ตโย โข คหปติ.
บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า กายสังขาร เพราะอรรถว่า อันกาย
ปรุงแต่งให้เกิด เพราะเนื่องด้วยกาย. ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะอรรถว่า
ปรุงแต่งวาจา กระทำให้เกิด. ชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะอรรถว่าอันจิต
ปรุงแต่งให้เกิด เพราะเนื่องด้วยจิต. ในบทว่า กตโม ปน ภนฺเต นี้
คฤหบดีได้ถามอย่างไร ได้ถามว่า สังขารทั้งหลายเหล่านี้ คลุกเคล้ากัน
และกัน มัว ไม่ปรากฏชัด แสดงยาก.
จริงอย่างนั้น เจตนา 20 ที่เป็นกุศลและอกุศลอย่างนี้ คือกามาวจร-
กุศลเจตนา 8 ดวง อันเกิดขึ้นแล้วให้ถึงการยึด การถือ การปล่อย การไหว
ในกายทวาร, อกุศลเจตนา 12 ดวงก็ดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดี
ท่านเรียกว่า กายสังขาร. เจตนา 20 ดวงก็ดี วิตกวิจารก็ดี ซึ่งมีประการ
ดังกล่าวอันเกิดขึ้นให้ถึงคางไหวเปล่งวาจาในวจีทวาร ท่านเรียกว่า วจี-
สังขาร.
แม้ธรรม 2 อย่างเหล่านี้ คือแม้เจตนา 29 ดวงที่เป็นกุศลและ
อกุศลอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นิ่งคิดอยู่ในที่ลับยังไม่ถึงการไหวในกายทวารและ