เมนู

บทว่า มจฺฉิภาสญฺเฑ คือในราวป่าอันมีชื่ออย่างนี้. บทว่า
อยมนฺตรากถา อุทปาทิ ความว่า พระเถระเก่าย่อมไม่สนทนากันถึง
เดียรัจฉานกถา เมื่อตั้งปัญหาขึ้นในที่นั่งแล้ว พวกไม่รู้ ก็ย่อมถาม พวกที่รู้
ก็ย่อมตอบด้วยเหตุนั้น การสนทนานี้ จึงเกิดขึ้นแล้วแก่พระเถระเหล่านั้น.
บทว่า มิคปถกํ คือบ้านส่วยของตนอันมีชื่ออย่างนี้ ได้ยินว่า
บ้านส่วยนั้น อยู่หลังอัมพาฏการาม. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า
จิตตคฤหบดีคิดว่า เราแก้ปัญหาของพระเถระทั้งหลายแล้ว จักทำความ
อยู่ผาสุกให้ดังนี้ จึงเข้าไปหา คมฺภีเร พุทฺธวจเน ความว่า ใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งด้วยอรรถและลึกซึ่งด้วยธรรม. บทว่า ปญฺญาจกฺขุ
กมติ
ความว่าจักขุคือญาณย่อมหยั่งทราบ คือ ย่อมเป็นไป.
จบ อรรถกถาสังโยชนสูตร

2. ปฐมิสิทัตตสูตร



ว่าด้วยอิสิทัตตภิกษุพยากรณ์ปัญหา



[541] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้
ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุเถระ
เหล่านั้นไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้อาราธนาว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับภัตตาหารของ
กระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนาของภิกษุเถระทั้งหลายแล้ว
ลุกจากที่นั่ง กราบไหว้ กระทำประทักษิณแล้วจากไป.

[542] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลายนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร พากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตต-
คฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี
เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า
ความต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล.
[543] เมื่อจิตตคฤหบดีถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธาน
ได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ 2 จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่
พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่าง
แห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ 2
พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ 3 จิตตคฤหบดีก็ได้ถาม
พระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความ
ต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วย
เหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ 3 พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้นิ่งอยู่.
[544] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกรูปใน
ภิกษุสงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็น
ประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของ
จิตตคฤหบดี.

พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านอิสิทัตตะ เชิญท่านพยากรณ์ปัญหา
ข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด.
อิ. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านกล่าวถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ
คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ดังนี้หรือ.
จิตต. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อิ. ดูก่อนคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ดังนี้ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ
โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ
รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ดูก่อนคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล.
[545] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของ
ท่านอิสิทัตตะ แล้วได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วย
ขาทนียโภชนียะอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป.
ครั้งนั้นแล พระเถระผู้เป็นประธานได้กล่าวกะท่านอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว
ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งกะท่าน มิได้แจ่มแจ้งกะเรา ดูก่อน
ท่านอิสิทัตตะ ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้ พึงมีมาแม้โดยประการอื่นในกาลใด
ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น.
จบ ปฐมอิสิทัตตสูตรที่ 2

อรรถกถาปฐมอิสิทัตตสูตรที่ 2



พึงทราบ วินิจฉัยในปฐมอิสิทัตตสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อายสฺมนฺตํ เถรํ คือ ซึ่งมหาเถระผู้เป็นใหญ่ ในบรรดา
พระเถระเหล่านั้น. บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า พระเถระถึงจะรู้อยู่
ก็ไม่พยากรณ์อะไร ๆ เพราะไม่กล้า. บทว่า พฺยากโรมหํ ภนฺเต ความว่า
พระอิสิทัตตะคิดว่า พระเถระนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ด้วยตน. พระเถระนี้
ย่อมไม่เชื้อเชิญ ฝ่ายอุบาสกย่อมเบียดเบียนภิกษุสงฆ์. เราพยากรณ์ปัญหา
นั้นแล้ว จักทำความอยู่ผาสุกให้ดังนี้ ลุกจากอาสนะไปยังสำนักของพระ-
เถระ ได้ทำโอกาสอย่างนี้แล้ว ฝ่ายพระเถระผู้มีโอกาสอันตนทำแล้วนั่งบน
อาสนะของตน พยากรณ์.
บทว่า สหตฺถา คือด้วยมือของตน. บทว่า สนฺตปฺเปสิ ความว่า
ให้อิ่มหนำด้วยดีตามปรารถนา.
บทว่า สมฺปวาเรสิ ความว่า ให้พระเถระทั้งหลาย ห้ามด้วยหัตถ
สัญญาหรือด้วยวาจาว่า พอ ๆ ดังนี้ บทว่า โอนีตปตฺตปาณิโน ความว่า
นำมือออกจากบาตร ล้างบาตรแล้วจึงเอาใส่ไว้ในถุงคล้องไว้ที่บ่าดังนี้.
จบ อรรถกถาปฐมอิสิทัตตสูตร ที่ 2