เมนู

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึง
ละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อน
ราธะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.
จบ ทุติยราธสูตรที่ 4

5. ตติยราธสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาธรรมแก่ราธภิกษุ


[94] ดูก่อนราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เรอพึงละความ
พอใจในสภาพนั้นเสีย อะไรเล่าไม่ใช่ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละ
ความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ ใจ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอ
พึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย ดูก่อนราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน
เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย.
จบ ตติยราธสูตรที่ 5

คิลานวรรคที่ 3



อรรถกถาคิลานสูตรที่ 1-5


คิลานวรรคที่ 4 คิลานสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อมุกสฺมึ แปลว่า ในวิหารโน้น. อนึ่ง บาลี ก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า อปฺปญฺญาโต ได้แก่ ไม่มีใครรู้จัก คือไม่ปรากฏ
จริงอยู่ภิกษุบางรูป แม้ใหม่ ก็มีคนรู้จัก เหมือนอย่าง พระราหุลเถระ และ
สุมนสามเณร. แต่ภิกษุนี้ยังใหม่ และไม่มีใครรู้จัก. คำที่เหลือในข้อนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วแล. แม้ในสูตรทั้ง 4 อื่นจากนี้ ก็อย่างนั้น.
จบ อรรถกถาคิลานสูตรที่ 1-5

6. ปฐมอวิชชาสูตร


ว่าด้วยการละอวิชชาได้ วิชชาก็เกิดขึ้น


[95] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา
ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
มีอยู่.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อม
ละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นนั้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า