เมนู

พ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ยอม
เบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออรุกขม-
สุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้น
ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ดังนี้แล.
จบ ทุติยคิลานสูตรที่ 2

3. ปฐมราธสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงอนิจจธรรมแก่ราธภิกษุ


[92] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนราธะ อะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุแลไม่เที่ยง
เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย ฯลฯ ใจไม่เที่ยง
เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ๆ เสีย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโน-
สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย
ดูก่อนราธะ สิ่งใดแลไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.
จบ ปฐมราธสูตรที่ 3

4. ทุติยราธสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงทุกขธรรมแก่ราธภิกษุ


[93] ดูก่อนราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจใน
สิ่งนั้นเสีย อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจใน
จักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ