เมนู

พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดี
แล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะ
ที่ 6 นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป.
จบ ทุติยผัสสายตนสูตรที่ 10

อรรถกถาทุติยผัสสายตนสูตรที่ 10


ในทุติยผัสสายตนสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปนสฺสาสํ แปลว่า ฉิบหายแล้ว. อธิบายว่า เราชื่อว่าเป็น
ผู้ฉิบหายแล้วแล. ในบทว่า อายตึ อปุนพฺภวาย นี้ นิพพานชื่อว่าความ
ไม่เกิดอีกต่อไป. อธิบายว่า ผัสสายตนะ จักเป็นอันเธอละได้แล้ว เพื่อ
ประโยชน์แก่การไม่บังเกิด.
จบ อรรถกถาทุติยผัสสายตนสูตรที่ 10

11. ตติยผัสสายตนสูตร


ว่าด้วยผู้ไม่ทราบชัดความเกิดเป็นต้นเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัย


[ 87 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
บางรูปไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด
ออกแห่งผัสสายตนะ 6 ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบ
แล้ว เธอชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

อย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้ เพราะข้าพระองค์
ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ 6 ตามความเป็นจริง.
พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุด
พ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ
ได้มี.
จบ ตติยผัสสายตนสูตรที่ 11
มิคชาลวรรคที่ 2


อรรถกถาตติยผัสสายตนสูตรที่ 11


ใน ตติยผัสสายตนสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อนสฺสาสํ แปลว่า ฉิบหายแล้ว. บทว่า ปนสฺสาสํ แปลว่า
ฉิบหายนักแล้ว. คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาตติยผัสสายตนสูตรที่ 11
จบ มิคชาลวรรคที่ 2


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมมิคชาลสูตร 2. ทุติยมิคชาลสูตร 3. ปฐมสมิทธิ
สูตร 4. ทุติยสมิทธิสูตร 5. ตติยสมิทธิสูตร 6. จตุตถสมิทธิ
สูตร 7. อุปเสนสูตร 8. อุปวาณสูตร 9. ปฐมผัสสายตนสูตร
10. ทุติยผัสสายตนสูตร 11. ตติยยผัสสตนสูตร.

1. บาลี เป็น ปนสฺสาสํ