เมนู

พินาศในถ้ำ ดังนี้แล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมา. บทว่า ปุรายํ กาโย อิเธว
วิถีรติ
ความว่า พวกท่านจงนำกายนั้นออกข้างนอกชั่วเวลาที่ยังไม่กระจัด
กระจาย. บทว่า อญฺญถตฺตํ แปลว่า เป็นอย่างอื่น. บทว่า อินฺทฺริยานํ
วิปริณามํ
ได้แก่ภาวะคืออินทรีย์มีจักขุนทรีย์และโสตินทรีย์เป็นต้นละปกติ
ไป บทว่า ตตฺเถว วิกิริ ความว่า กระจัดกระจายบนเตียงน้อยนั่นเอง
ในที่ที่นำออกมาตั้งไว้ภายนอก.
จบ อรรถกถาอุปเสนสูตรที่ 7

8. อุปวาณสูตร


ว่าด้วยธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง


[78] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้
บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้
บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า
มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า.
[79] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปวาณะ ก็ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป รู้เสวยความกำหนัดในรูป
แล้วรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัด
ในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป รู้เสวยความ

กำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่าเรายังมี
ความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.
[80] อีกประการหนึ่ง ดูก่อนอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
[81] อีกประการหนึ่ง ดูก่อนอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้วรู้เสวยธรรมารมณ์ รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และ
รู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัด
ในธรรมารมณ์ในภายใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรู้เสวย
ธรรมารมณ์ รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด
ในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์
ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน.
[82] ดูก่อนอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ
แล้วรู้เสวยรูป แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด
ในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่
ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในรูป
และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัด
ในรูปในภายในอย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

[83] ดูก่อนอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู
สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น.
[84] ดูก่อนอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้วรู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์
และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความ
กำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
รู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่ง
ความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดใน
ธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง.
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน.
จบ อุปวาณสูตรที่ 8

อรรถกถาอุปวาณสูตรที่ 8


ในอุปวาณสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.


บทว่า รูปปฏิสํเวที ความว่า กำหนดอารมณ์ต่างโดยกสิณมีนีล
กสิณและปีตกสิณเป็นต้น ทำรูปให้เป็นอันตนรู้แจ้งแล้ว. ถามว่า เพราะ
เหตุไรจึงเป็นผู้ได้ชื่อว่ารู้แจ้งรูป. แก้ว่า เพราะภาวะที่กิเลสยังมีอยู่นั้นแล
ชื่อว่ากระทำรูปราคะให้เป็นอันตนรู้แจ้งแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
รูปราคปฏิสํเวทิ. คำว่า. สนฺทฏฺฐิโก เป็นต้น มีอรรถได้กล่าวไว้แล้ว