เมนู

7. อุปเสนสูตร


ว่าด้วยกายเรี่ยราดประดุจกำแกลบ


[ 77] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าและท่านพระสารีบุตร
ท่านพระอุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน เงื้อมเขาสัปปโสณฑิกะ กรุงราชคฤห์
สมัยนั้นแล อสรพิษตัวหนึ่งได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ ครั้งนั้นแล
ท่านพระอุปเสนะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้
ขึ้นสู่เตียงแล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราดประดุจกำแกลบ
ในที่นี้แล เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้
กล่าวกะท่านพระอุปเสนะว่า ความที่กายของท่าน พระอุปเสนะเป็นอย่างอื่น
หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่
เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระอุปเสนะยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มี
อายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำไปภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราด
ประดุจกำแกลบเล่า ณ ที่นี้ ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า ท่านพระสารีบุตร
ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เรา
เป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวน
แห่งอินทรีย์พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน ท่านพระสารีบุตร เรามิได้มีความตรึก
อย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจ
เป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง
อินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร.

สา. จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ มมังการและ
มานานุสัยได้เด็ดขาดเป็นเวลานานมาแล้ว ฉะนั้น ท่านพระอุปเสนะจึงไม่
มีความตรึกอย่างนั้น.
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นสู่เตียง
นำไปภายนอก กายของท่านพระอุปเสนะเรี่ยราดประดุจกำแกลบในที่
นั้นเอง ฉะนั้น.
จบ อุปเสนสูตรที่ 7

อรรถกถาอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ 7


ในอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีตวเน ได้แก่ในป่าของป่าช้ามีชื่ออย่างนั้น. บทว่า
ิสปฺปโสณฺฑิกปพฺภาเร ได้แก่ที่เงื้อมเขามีชื่ออย่างนั้น เพราะเหมือนกัน
พังพานงู. บทว่า อุปเสนสฺส ได้แก่ท่านอุปเสนะผู้เป็นน้องชายของ
พระธรรมเสนาบดี. บทว่า อาสีวิโส ปติโต โหติ ความว่า เล่ากัน
มาว่า พระเถระเสร็จภัตกิจแล้ว ถือมหาจีวร ถูกลมอ่อนๆ ทางช่องหน้าต่าง
ที่ร่มเงาถ้ำ รำเพยพัด นั่งทำสูจิกรรมผ้านุ่ง 2 ชั้น. ขณะนั้น ลูกอสรพิษ
เลื้อยเล่นอยู่บนหลังคาถ้ำ ลูกงูเหล่านั้น ตัวหนึ่งตกลงมาถูกจะงอยบ่า
พระเถระ. พระเถระถูกพิษเข้า ฉะนั้นพิษของงูนั้นจึงซาบซ่านไปในกาย
ของพระเถระ เหมือนเปลวประทีปลามไปตามไส้ตะเกียง. พระเถระ
ทราบว่าพิษแล่นมาดังนั้น พิษนั้นพอตกลงเท่านั้นแล่นไปตามกำหนด ก็จริง
ถึงอย่างนั้น ท่านจึงใช้พลังฤทธิ์ของตนอธิษฐานว่า ขออัตตภาพนี้จงอย่า