เมนู

3. ปฐมสมิทธิสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่ามาร


[ 71 ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้-
มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วย
เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้
แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ
ที่นั้น หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ
ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ
ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่า
มารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา-
วิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น กาย
โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่า
มารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น.
[ 72 ] ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น
ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
ไม่มี ณ ที่ใดมารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น.
จบ ปฐมสมิทธิสูตรที่ 3

4. ทุติยสมิทธิสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าสัตว์


[ 73 ] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วย
เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์ ฯลฯ
จบ ทุติยสมิทธิสูตรที่ 4

5. ตติยสมิทธิสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าทุกข์


[ 74 ] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วย
เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จะพึงเป็นทุกข์ หรือบัญญัติว่าทุกข์ ฯลฯ
จบ ตติยสมิทธิสูตรที่ 5

อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ 3 - 5


ในสมิทธิมารปัญจสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมิทฺธิ ความว่า ได้ชื่ออย่างนี้เพราะมีอัตตภาพบริบูรณ์.
เล่ากันว่า พระเถระนั้นมีอัตตภาพงามน่าเลื่อมใส บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
เหมือนพวงมาลาที่แขวนไว้ เหมือนห้องมาลาที่ตกแต่งไว้ ฉะนั้นจึงนับว่า
สมิทธิ นั่นแล.
ด้วยบทว่า มาโร ท่านสมิทธิถามถึงความตาย คำว่า มาร ในคำว่า
มารปญฺญตฺติ เป็นนามบัญญัติ เป็นนามไธย. ในบทว่า อตฺถิ ตตฺถ มเร
วา มารปญฺญตฺติ วา
นั้น บทว่า มรณํ วา มรณํ นี้ท่านแสดงว่า
นามมีอยู่. สูตรที่ 4 ง่ายทั้งนั้น. สูตรที่ 5 ก็เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ 3 - 5