เมนู

6. ปฐมอนุสัยสูตร


ว่าด้วยการละอนุสัย


[ 61 ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น
อยู่อย่างไร จึงจะละอนุสัยได้ ฯลฯ
จบ ปฐมอนุสัยสูตรที่ 6

7. ทุติยอนุสัยสูตร


ว่าด้วยอนุสัยถูกเพิกถอน


[ 62 ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น
อยู่อย่างไร อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดย
ความเป็นอนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่
ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นอนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน.
จบ ทุติยอนุสัยสูตรที่ 7

8. ปริญญาสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทาน


[ 63 ] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้
อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน. อาศัยจักษุและ
รูป เกิดจักษุวิญญาณ รวมธรรม 3 ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ที่ในจักษุวิญญาณ ทั้งใน
จักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า เรากำหนดรู้ว่าหลุดพ้นอุปาทาน
อาศัยหูและเสียง ฯลฯ อาศัยจมูกและกลิ่น ฯลฯ อาศัยลิ้นและรส ฯลฯ อาศัย
กายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยใจแล .ธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ รวม
ธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง
ในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน
เวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุด
พ้น เธอย่อมทราบชัดว่า เรากำหนดรู้ว่าหลุดพันอุปาทาน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายนี้แลเป็นธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง.
จบ ปริญญาสูตรที่ 8