เมนู

2. ปฐมสังโยชนสูตร


ว่าด้วยการละสังโยชน์


[ 57 ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่
อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุ
วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละ
สังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้
เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้.
จบ ปฐมสังโยชนสูตรที่ 2

3. ทุติยสังโยชนสูตร


ว่าด้วยสังโยชน์ถูกเพิกถอน


[ 58 ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่
อย่างไร สังโยชน์จึงถึงความเพิกถอน.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความ
เป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป
จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะ
ถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น
อนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล
รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน.
จบ ทุติยสังโยชนสูตรที่ 3

4. ปฐมอาสวสูตร


ว่าด้วยการละอาวาสวะ


[ 59 ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่
อยู่อย่างไร จึงจะละอาสวะได้ ฯลฯ
จบ ปฐมอาสวสูตรที่ 4

5. ทุติยอาสวสูตร


ว่าด้วยอาสวะถูกเพิกถอน


[ 60 ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น
อยู่อย่างไร อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ
จบ ทุติยอาสวสูตรที่ 5