เมนู

[ 47 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์.
[ 48 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา.
[ 49 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง.
[ 50 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้.
[ 51 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ.
[ 52 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง
[ 53 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้
[ 54 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงวุ่นวาย.

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน


[ 55 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิงทั้งปวงขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งทั้งปวงขัดข้อง คิดอะไรเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป
จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ขัดข้อง ฯลฯ ใจ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
มโนสัมผัส ก็ขัดข้อง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย-
สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป
ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งใน
ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข-
เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น
แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.
จบ อนิจจวรรคที่ 5

อรรถกถาอนิจจวรรคที่ 5


ในอนิจจวรรคที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ญาตปริญญามาในบทว่า ปริญฺเญยฺยํ. แต่ปริญญา 2 นอกนี้
พึงทราบว่าท่านก็ถือเอาด้วยเหมือนกัน. เฉพาะตีรณปริญญาและปหาน-
ปริญญา มาทั้งในบท ปริญฺเญยฺย ทั้งในบท ปหาตพฺพ. แต่ปริญญาทั้ง 2
นอกนี้ พึงทราบว่าท่านถือเอาด้วยเหมือนกัน. บทว่า สจฺฉิกาตพฺพํ
แปลว่า พึงกระทำให้ประจักษ์. แม้ในบทว่า อภิญฺเญยฺยา ปริญฺเญยฺยํ นี้
ถึงท่านไม่ได้กล่าวถึงปหานปริญญาก็จริง แต่พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย
เหมือนกัน. บทว่า อุปทฺทุตํ ได้แก่ด้วยอรรถมากมาย. บทว่า อุปสฺสฏฺฐํ
ได้แก่ด้วยอรรถว่าถูกกระทบ. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล
จบ อรรถกถาอนิจจวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อนิจจสูตร 2. ทุกขสูตร 3. อันตตสูตร 4. อภิญเญยย-
สูตร 5. ปริญเญยยสูตร 6. ปหาตัพพสูตร 7. สัจฉิกาตัพพสูตร
8. อภิญญาปริญเญยยสูตร 9. อุปทุตสูตร 10. อุปัสสัฏฐสูตร
จบ ปฐมปัณณาสก์
จบ สฬายตนวรรค


รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้ คือ


1. สุทธวรรค 2. ยมกวรรค 3. สัพพวรรค 4. ชาติธรรม-
วรรค 5. อนิจจวรรค.