เมนู

ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรจะพิจารณา เห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ
มีคอเป็นที่ 5 และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5
อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลาย
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล ส่วนเทวดาทั้งหลายไม่ต้องอยู่ในธรรม บัดนี้เราจัก
ไปอสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูก
จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ 5 และย่อมเสื่อมจากกามคุณ 5 อันเป็น
ทิพย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียด
อย่างนี้แล เครื่องจองจำของมาร ละเอียดยิ่งกว่าเครื่องจองจำของท้าว
เวปจิตติจอมอสูรนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เมื่อสำคัญ ( ขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ) ชื่อว่าถูกมารจองจำแล้ว ( แต่ ) เมื่อไม่
สำคัญ ชื่อว่าพ้นแล้ว จากมารผู้มีบาป.

ว่าด้วยความสำคัญด้วยตัณหาเป็นต้น


[354] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อสฺมิ ( เราเป็น ) ความสำคัญด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
อยนหมสฺมิ ( เราเป็นนี้ ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
ภวิสฺสํ ( เราจักเป็น ) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่านี้
ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
รูปี ภวิสฺสํ ( เราจักมีรูป ) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วย
บทว่า อรูปี ภวิสฺสํ ( เราจักไม่มีรูป ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่าน
กล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ ( เราจักมีสัญญา ) ความสำคัญด้วย

อุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ ( เราจักไม่มีสัญญา )
ความสำคัญ. ด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วย บทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ
(เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ
สำคัญเป็นโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เพราะเหล่านั้นแล เธอทั้งหลาย
ได้ศึกษาว่า เราจักมีใจไม่สำคัญอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้แล.
[355] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่าน
กล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ ( เราเป็น ) ความหวั่นไหวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ ( เราเป็นนี้ ) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฏฐิ
ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ ( เราจักเป็น ) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ
ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ ( เราจักไม่เป็น ) ความหวั่นไหวด้วย
สัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปิ ภวิสฺสํ ( เราจักมีรูป ) ความ
หวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ ( เราจักไม่มี
รูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ
( เราจักมีสัญญา ) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา ) ความหวั่นไหวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าว
ด้วยพูดว่า เนวสัญญินาสัญญี ภวิสฺสํ ( เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มี
สัญญาก็หามิได้ ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูก
กิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[356] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น ) ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้ ) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ
ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสสํ (เราจักมีสัญญาก็หา
มิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนเป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจัก
มีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา
อย่างนี้แล.
[357] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อสฺมิ ( เราเป็น ) ความเนิ่นช้าด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้ ) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฏฐิ
ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้
ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เรา
จักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
[358] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วย
บทว่า รูปี ภวิสฺสํ ( เราจักมีรูป ) ความถือตัว ด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่าน
กล่าวด้วยบุคคลว่า อรูปี ภวิสฺสํ ( เราจักไม่มีรูป ) ความถือตัวด้วยสัสสต-
ทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความถือ
ตัวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่
มีสัญญา ) ความถือตัวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี
ภวิสฺสํ
(เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความถือตัวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร. เพราะเหตุนั้นแล เธอ
ทั้งหลายจึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจกำจัดมานะออกได้อยู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบ เทวาสุรสังคามสูตรที่ 12
อาสีวิสวรรคที่ 4


อรรถกถาเทวาสุรสังคามสูตรที่ 121


บัดนี้เพื่อจะแสดงกิเลสที่ปรารถนาภพนั้น ของสัตว์เหล่านั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภุตปุพฺพํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ตตฺร โยค เทวสภายํ เป็นสัตว์มีวิภัตติ ( แปลว่า ใน
เทวสภา นั้น ). อธิบายว่า ใกล้ประตูเทวสภา ชื่อว่าสุธรรมา.
1. สูตรที่ 12 อรรถกถาแก้รวมไว้ในสูตรที่ 11 ในที่นี้แยกไว้ต่างหาก