เมนู

12. เทวาสุรสังคามสูตร


ว่าด้วยสงครามเทวดากับอสูร


[352] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง
เทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัส
เรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าว่าเมื่อสงความ
เทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้
ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพนั้นด้วยเครื่องจองจำมีชื่อ
เป็นที่ 5 แล้วนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา. ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายท้าว-
สักกะผู้เป็นจอมเทพ ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว
พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าว-
เวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำมีชื่อเป็นที่ 5 แล้วพึงนำมายังเทวสภา
ชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้นพวก
เทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าว
เวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำมีชื่อเป็นที่ 5 แล้วนำมายังเทวสภาชื่อ
สุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ.
[353] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูก
จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ 5 อยู่ใกล้ประตูเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น
ก็ในกาลใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ตั้ง
อยู่ในธรรมแล ส่วนอสูรทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร

ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรจะพิจารณา เห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ
มีคอเป็นที่ 5 และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5
อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลาย
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล ส่วนเทวดาทั้งหลายไม่ต้องอยู่ในธรรม บัดนี้เราจัก
ไปอสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูก
จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ 5 และย่อมเสื่อมจากกามคุณ 5 อันเป็น
ทิพย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียด
อย่างนี้แล เครื่องจองจำของมาร ละเอียดยิ่งกว่าเครื่องจองจำของท้าว
เวปจิตติจอมอสูรนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เมื่อสำคัญ ( ขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ) ชื่อว่าถูกมารจองจำแล้ว ( แต่ ) เมื่อไม่
สำคัญ ชื่อว่าพ้นแล้ว จากมารผู้มีบาป.

ว่าด้วยความสำคัญด้วยตัณหาเป็นต้น


[354] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าว
ด้วยบทว่า อสฺมิ ( เราเป็น ) ความสำคัญด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
อยนหมสฺมิ ( เราเป็นนี้ ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
ภวิสฺสํ ( เราจักเป็น ) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่านี้
ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า
รูปี ภวิสฺสํ ( เราจักมีรูป ) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วย
บทว่า อรูปี ภวิสฺสํ ( เราจักไม่มีรูป ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่าน
กล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ ( เราจักมีสัญญา ) ความสำคัญด้วย