เมนู

11. ยวกลาปิสูตร


ว่าด้วยอายตนะเปรียบด้วยฟ่อนข้าวเหนียว


[351] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ที่หน
ทางใหญ่ 4 แพร่ง ครั้นแล้วผู้ชาย 6 คนถือไม้คานมา ผู้ชายเหล่านั้นพึง
ฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน 6 อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นผู้ชายเหล่านั้น
ฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน 6 อันอย่างนี้แล จึงผู้ชายคนที่ 7 ถือไม้คานมา.
เขาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ 7. ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าว
เหนียวนั้นถูกผู้ชายฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ 7 อย่างนี้จะต้องแหลก
เหลว แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล
ถูกรูปอันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์
อันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว
นั้นย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไปอีก. ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็น
ถูกกระทบกระทั้งหนักกว่า เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำ
ด้วยไม้คานอันที่ 7 ฉะนั้นแล.
จบ ยวกลาปิสูตรที่ 11

อรรถกถายวกลาปิสูตรที่ 11


ในยวกลาปิสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยวกลาปิ ได้แก่ ฟ่อนข้าวเหนียว ที่เขาเกี่ยววางไว้.
บทว่า พฺยภงฺคิหตฺถา ความว่า มีไม้คานหาบในมือ.

บทว่า พฺยาภงฺคีหิ หเนยฺยุํ ความว่า ฟาดด้วยไม้คานหาบที่
หนา 6 คาน.
บทว่า สตฺตโม ความว่า เมื่อคนทั้ง 6 คนเหล่านั้น นวดข้าวเหนียว1
บรรจุเต็มกระสอบแล้วไป คนที่ 7 อีกคนก็มา.
บทว่า สุหตตรา อสฺส ความว่า เขาฟาดให้แหลกเพื่อถือเอาสิ่ง
ที่เหลืออยู่ในฟ่อนข้าวนั้น แม้เพียงแกลบและฟาง.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีอธิบายว่า อายตนะ 6 พึงเห็นเหมือน
ทางใหญ่ 4 แพร่ง สัตว์ (ผู้ที่เป็นเจ้าของอายตนะ) พึงเห็นเหมือน
ฟ่อนข้าวเหนียวที่เขาเก็บไว้ที่ทางใหญ่ 4 แพร่ง.
อารมณ์ 8 คือ อิฏฐารมณ์ 6 อนิฏฐารมณ์ 6 มัชฌัตตารมณ์ 6
พึงเห็นเหมือนไม้คานหาบ ทั้ง 6 คาน กิเลสที่ปรารถนาภพ พึงเห็นเหมือน
ไม้คานหาบที่ 7. ฟ่อนข้าวเหนียวที่เขาวางไว้ทางใหญ่ 4 แพร่ง ย่อม
ถูกไม้คานหาบ 6 คาน ฟาดฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูก
ท่อนไม้คืออารมณ์ทั้ง2 18 กระทบกระทำที่อายตนะทั้ง 6. สัตว์ทั้งหลาย
ถูกกิเลสที่ปรารถนาภพ กระทบกระทั่งจนอานแล้วเสวยทุกข์มีภพเป็นมูล
เหมือนสัตว์ที่ถูกไม้คานหาบคานที่ 7 ฟาดกระหน่ำให้แหลกฉะนั้น.
จบ อรรถกถายวกลาปิสูตรที่ 11

1. ปาฐะว่า ลายิตฺวา ฉบับพม่าเป็น โปเถตฺวา แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า อารมฺมณกณฺฏเกหิ ฉบับพม่าเป็น อารมฺมณฑณฺฑเกหิ แปลตามฉบับพม่า.

12. เทวาสุรสังคามสูตร


ว่าด้วยสงครามเทวดากับอสูร


[352] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง
เทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัส
เรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าว่าเมื่อสงความ
เทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้
ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพนั้นด้วยเครื่องจองจำมีชื่อ
เป็นที่ 5 แล้วนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา. ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายท้าว-
สักกะผู้เป็นจอมเทพ ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว
พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าว-
เวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำมีชื่อเป็นที่ 5 แล้วพึงนำมายังเทวสภา
ชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้นพวก
เทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าว
เวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำมีชื่อเป็นที่ 5 แล้วนำมายังเทวสภาชื่อ
สุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ.
[353] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูก
จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ 5 อยู่ใกล้ประตูเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น
ก็ในกาลใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ตั้ง
อยู่ในธรรมแล ส่วนอสูรทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร