เมนู

2. อัชฌัตติกทุกขสูตร


ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งอายตนะภายใน


[ 2 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
ตัวตนของเรา. หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์
ใจเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่
ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ.
จบ อัชฌัตติกทุกขสูตรที่ 2

อรรถกถาอัชฌัตติกทุกขสูตรที่ 2


สูตรที่ 2 ตรัสด้วยลักษณะสอง.
จบ อรรถกถาอัชฌัตติกทุกขสูตรที่ 2

3. อัชฌัตติกอนัตตสูตร


ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายใน


[ 3 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. หูเป็นอนัตตา
จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา สิ่งใด
เป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ.
จบ อัชฌัตติกอนัตตสูตรที่ 3

อรรถกถาอัชฌัตติกอนัตตสูตรที่ 3


สูตรที่ 3 ตรัสตามอัธยาศัยของผู้ตรัสรู้ ในเมื่อพระองค์ตรัสแสตง
ลักษณะ 1. ส่วนลักษณะที่เหลือพวกผู้จะตรัสรู้กำหนดแล้ว หรือจักกำหนด
พระสูตรนั้น ด้วยลักษณะเพียงเท่านี้แล.
จบ อรรถกถาอัชฌัตติกอนัตตสูตรที่ 3

4. พาหิรอนิจจสูตร


ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายนอก


[ 4 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่
ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป.........ย่อม
ทราบชัด ....
จบ พาหิรอนิจจสูตรที่ 4