เมนู

อุปมาด้วยทางสามแยก ( พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก ) มาเพื่อแสดง
ถึงพระขีณาสพ ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจเตภูมิกธรรม.
แต่ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสัจจะทั้ง 4 นั่นแหละไว้
โดยย่อ.
แท้จริง ทุกขสัจนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยองค์
ประกอบของเมืองทั้งหมด. นิโรธสัจ ตรัสไว้แล้วด้วยยถาภูตวจนะ มัคคสัจ
ตรัสไว้แล้วด้วยถาคตมรรค. ส่วนตัณหาที่เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด คือ
สมุทยสัจ.
ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ภิกษุผู้ถามปัญหา ได้ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผลแล.
จบ อรรถกถากิงสุกลสูตรที่ 8

9. วีณาสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเปรียบด้วยพิณ


[343] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความ
ขัดเคือง ความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วย
จักษุ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณี
พึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หน-
ทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็น
ทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษ

ดำเนินไป ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนินไป ท่านไม่ควรดำเนินทางนั้น ภิกษุ
หรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคุคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือ
แม้ความคับแค้นใจในธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้น
แก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจาก
ธรรมารมณ์นั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า
มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไป
ลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษดำเนินไป ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนินไป เธอ
ย่อมไม่ควรดำเนินทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์
อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น.
[344] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าถึงสมบูรณ์ แต่เจ้าของ
ผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ประมาท และโคกินข้าวกล้าลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงถึง
ความเมา ความประมาทตามต้องการ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้ว
ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ 6 ย่อมถึงความเมา ความประมาท
ในกามคุณ 5 ตามความต้องการฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้า
สมบูรณ์แล้ว เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ไม่ประมาท และโคกินข้าวกล้า
พึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับโคนั้นสนพาย แล้ว
ผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้งสอง ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วยตะพดแล้วจึง
ปล่อยไป โคตัวกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น แม้ครั้งที่ 2 ... แม้ครั้งที่ 3
เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าพึงจับโคสนสะพายแล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้ง 2
ครั้นแล้วจึงตีกระหน่ำด้วยตะพด แล้วจึงปล่อยไป โคกินข้าวกล้านั้น

อยู่ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี พึงเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่พึงลงสู่
ข้าวกล้านั้นอีก พลางระลึกถึงการถูกตีด้วยไม้ครั้งก่อนนั้นนั่นแหละ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คราใด จิตอันภิกษุข่มขู่แล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัส-
สายตนะ 6 คราวนั้น จิตย่อมดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น
ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[345] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์
ยังไม่เคยได้ฟังเสียงพิณ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ ฟังเสียงพิณแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่
น่ามัวเมา น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้ บุรุษนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ
เสียงนั้นเป็นเสียงพิณ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์พึงกล่าวว่า แน่ะท่าน
ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไปนำพิณนั้นมาให้เรา ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณ
มาถวาย พึงกราบทูลว่า นี่คือพิณนั้น พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์
นั้นพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลาย
จงนำเสียงพิณนั้นมาให้แก่เราเถิด ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่า
พิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดี
แล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือธรรมดาว่าพิณนี้ อาศัยกระพอง
อาศัยราง อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสาย อาศัยคันชัก และอาศัย
ความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประกอบหลายอย่าง
มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง
จึงจะส่งเสียงได้ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ทรงผ่าพิณนั้น 10 เสี่ยง
หรือ 100 เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วพึงเผาไฟแล้ว

พึงกระทำให้เป็นเขม่า โปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่น้ำ
มีกระแสอันเชี่ยว ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้
ไม่ได้สติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้อง
มัวเมา ประมาทหลงใหลจนเกินขอบเขต ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมแสวงหาคติแห่งรูป คติแห่งเวทนา...สัญญา ...
สังขารทั้งหลาย... วิญญาณเท่าที่มีอยู่ เมื่อเธอแสวงหาคติแห่งรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณเท่าที่มีอยู่ ความยึดถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา
หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้นั้นก็ไม่มีแก่เธอ
จบ วีณาสูตรที่ 9

อรรถกถาวีณาสูตรที่ 9


ในวีโณปมสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระศาสดาทรงเริ่มคำว่า ยสฺส กสฺสจิ ภิกฺขเว ภิกฺขุสฺส วา
ภิกฺขุนิยา วา
ดังนี้ไว้ เพื่อแสดงว่า เปรียบเหมือนว่า มหากุฏุมพี
ทำกสิกรรมมาก เสร็จนาได้ข้าวกล้าแล้ว สร้างปะรำไว้ที่ประตูเรือน เริ่ม
ถวายทานแด่สงฆ์ทั้งหลาย. ถึงแม้เขาจะตั้งใจถวายแด่พระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
( เท่านั้น ) ก็จริง ถึงกระนั้น เมื่อบริษัททั้งสองฝ่าย อิ่มหนำสำราญแล้ว
แม้ชนที่เหลือก็พลอยอิ่มหนำสำราญไปด้วยฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงบำเพ็ญบารมีมา 4 อสงไขยเศษ ทรงบรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณ ที่ควงโพธิพฤกษ์ ทรงแสดงธรรมจักรอันประเสริฐ
1. ปาฐะว่า ปติฏฺฐาปิตํ ฉบับพม่าเป็น ปฏฺฐิตํ แปลตามฉบับพม่า