เมนู

บทว่า จกฺขุโต แปลว่า โดยภาวะแห่งจักษุ. บทว่า มาโร ได้ แก่
กิเลสมารบ้าง เทวปุตตมารบ้าง. บทว่า โอตารํ แปลว่า ช่อง. บทว่า
อารมฺมณํ ได้แก่ ปัจจัย. บทว่า นฬคารํ ความว่า อายตนะ ที่เป็นไป
ด้วยการเสพผิด เหมือนเรือนหญ้า อารมณ์ที่ควรแก่การเกิดขึ้นแห่งกิเลส
เหมือนคบหญ้า, การเกิดขึ้นแห่งกิเลส ในเมื่ออารมณ์มาปรากฏ เหมือน
การลุกโพลงแห่งถ่านเพลิง ในที่ ๆ คบหญ้า อันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น
ท่านพระโมคคัลลานะ จึงกล่าวว่า ลเภถ มาโร โอตารํ.
ในสุกกปักข์ฝ่ายข้างดี พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. อายตนะ ที่หมดพยศ
เหมือนกุฏาคารที่ฉาบด้วยก้อนดินหนา. อารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว
เหมือนคบหญ้า, การไม่เกิดขึ้นแห่งความเร่าร้อนคือกิเลส เมื่ออารมณ์
ของอายตนะที่หมดพยศแล้วมาปรากฏ เหมือนการทำให้เพลิงดับ ในที่ ๆ
คบหญ้าอันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เนว ลเภถ มาโร
โอตารํ
ดังนี้.
จบ อรรถกถาอวัสสุตปริยายสูตรที่ 6

7. ทุกขธรรมสูตร


ว่าด้วยเหตุเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม


[332] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุ
เกิดและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้น
แล ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความ
เสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอน

เนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่
เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา
และโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่อง
ประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่ง
ทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างไร. ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น
และความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ .. . สัญญา
ดังนี้ สังขารทั้งหลายดังนี้ . . . วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ดังนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึง
เหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่าง
นี้แล.
[333] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้วอย่างไรเล่า
เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น
ความเร่าร้อน เพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องด้วยอาการใด.
ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่
ด้วยอาการนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็ม
ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนา
เป็นอยู่ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผ่านมา บุรุษผู้มีกำลัง 2 คน
จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหาหลุมถ่านเพลิงนั้น บุรุษนั้น
พึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะ

ว่าบุรุษนั้นไม่มีควานรู้ว่าเราจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้และจะถึงความตายหรือ
ความทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ก็ฉันนั้นแล
เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น
ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด
ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่
ด้วยอาการนั้น.
[334] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรม
เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุอย่างไรเล่า. อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรม
เป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการ
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษ
นั้นก็มีหนาม ข้างหลังก็มีหนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม
ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอย
กลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าแทงเรา แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมคือปิยรูปและสาตรูปในโลก นี้เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของ
พระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ว่าด้วยอสังวรและสังวร


[335] ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วย
จักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก