เมนู

บทว่า จกฺขุโต แปลว่า โดยภาวะแห่งจักษุ. บทว่า มาโร ได้ แก่
กิเลสมารบ้าง เทวปุตตมารบ้าง. บทว่า โอตารํ แปลว่า ช่อง. บทว่า
อารมฺมณํ ได้แก่ ปัจจัย. บทว่า นฬคารํ ความว่า อายตนะ ที่เป็นไป
ด้วยการเสพผิด เหมือนเรือนหญ้า อารมณ์ที่ควรแก่การเกิดขึ้นแห่งกิเลส
เหมือนคบหญ้า, การเกิดขึ้นแห่งกิเลส ในเมื่ออารมณ์มาปรากฏ เหมือน
การลุกโพลงแห่งถ่านเพลิง ในที่ ๆ คบหญ้า อันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น
ท่านพระโมคคัลลานะ จึงกล่าวว่า ลเภถ มาโร โอตารํ.
ในสุกกปักข์ฝ่ายข้างดี พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. อายตนะ ที่หมดพยศ
เหมือนกุฏาคารที่ฉาบด้วยก้อนดินหนา. อารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว
เหมือนคบหญ้า, การไม่เกิดขึ้นแห่งความเร่าร้อนคือกิเลส เมื่ออารมณ์
ของอายตนะที่หมดพยศแล้วมาปรากฏ เหมือนการทำให้เพลิงดับ ในที่ ๆ
คบหญ้าอันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เนว ลเภถ มาโร
โอตารํ
ดังนี้.
จบ อรรถกถาอวัสสุตปริยายสูตรที่ 6

7. ทุกขธรรมสูตร


ว่าด้วยเหตุเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม


[332] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุ
เกิดและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้น
แล ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความ
เสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอน