เมนู

บทว่า เอตทโวจ ความว่า นายนันทะคนเลี้ยงโค ต้อนฝูงโค
ให้บ่ายหน้าสู้ฝั่งแม้น้ำคงคา แล้วยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของ
พระศาสดา ตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วคิดว่า พระศาสดาตรัสว่า เธออาจ
บำเพ็ญข้อปฏิบัติ ด้วยอำนาจเป็นผู้ไม่เข้าถึงฝังในเป็นต้น ถ้าเราอาจบำเพ็ญ
อย่างนั้นได้ไซร้ เราบวชแล้วจักบำเพ็ญได้ ดังนี้แล้วจึงได้กราบทูลคำนี้
คือคำว่า อหํ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า วจฺฉคิทฺธินิโย ความว่า แม้โคทั้งหลาย มีความรักใน
ลูกโคทั้งหลาย ด้วยทั้งนมที่กำลังหลั่งน้ำนมอยู่ ก็จักไปหาเอง เพราะ
ความรักในลูกโค. บทว่า นิยฺยาเตเหว แปลว่า จงมอบให้. จริงอยู่
เมื่อแม่โคยังไม่ถูกมอบให้ เจ้าของโคทั้งหลาย ก็จักเที่ยวตามหลังท่านด้วย
คิดว่า แม่โคตัวหนึ่งไม่เห็น โคตัวหนึ่ง ลูกโคตัวหนึ่งก็ไม่เห็น เพื่อแสดงว่า
ความผาสุกจักมีด้วยประการฉะนี้ และขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้ ไม่งอกงาม
สำหรับผู้ยังมีหนี้ และการบรรพชาที่ไม่มีหนี้ บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้นสรรเสริญแล้ว จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า นิยฺยาติตา แปลว่า
ถูกมอบให้แล้ว. ในสูตรนี้ ตรัสถึงวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.
จบ อรรถกถาปฐมทารุขันธสูตรที่ 4

5. ทุติยทารุขันธสูตร


ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏกับท่อนไม้ลอยน้ำ


[325] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา
ใกล้เมืองกิมมิละ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่อนซุงใหญ่ท่อนหนึ่ง

ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นหรือไม่ ซุงท่อนใหญ่
โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น
พระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร.
ฯลฯ ดูก่อนกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้
เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น
ยังไม่ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นเน่าในภายใน.
จบ ทุติยทารุขันธสูตร 5

อรรถกถาทุติยทารุขันธสูตรที่ 5


ในทุติยทารุขันธสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กิมฺมิลายํ ได้แก่ ในพระนคร มีชื่อว่า กิมมิละ บทว่า
สํกิลิฏฺฐํ ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่ปิดไว้ อาบัติที่ชื่อว่าไม่เศร้าหมอง
ย่อมไม่มี. อาบัติที่เศร้าหมองเห็นปานนั้น.
บทว่า วุฏฺฐานํ ทิสฺสติ ได้แก่การออกจากอาบัติ ด้วยปริวาส
มานัต และ อัพภาน ย่อมปรากฏแล.
จบ อรรถกถาทุติยทารุขันธสูตรที่ 5