เมนู

4. ปฐมทารุขันธสูตร


ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏกับท่อนไม้ลอยน้ำ


[322] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา
แห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง
อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถานภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแส
น่าพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทูลหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
ไม่ถูกน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่ง
ข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไร้ ด้วยประการดัง
กล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร. เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[323] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่ง
โน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบกได้แก่อะไร

มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร. เกลียวน้ำวน ๆ ไว้คืออะไร
ความเป็นของเน่าในกายในคืออะไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน 6 คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะ
ภายนอก 6 คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็น
ชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูก่อนภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุข
ด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิด
ขึ้นแล้วของเขา ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูก่อนภิกษุ อมนุษย์
จับเป็นไฉน. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์
ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ
หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูก่อนภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวน ๆ ไว้
เป็นชื่อแห่งกามคุณ 5 ดูก่อนภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน.
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามกไม่สะอาด มีความ
ประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน
มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็น
ผู้เน่าในภายใน.
[324] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยื่นอยู่ในที่ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มี.
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้. ไม่เข้า

ใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูก
อมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปมาบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนนันทะ. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง.
พ. ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ.
ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้
บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า นายนันทโคบาลได้
บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลท่านพระนันทะ
อุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์
อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ก็อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์
ทั้งหลาย.
จบ ปฐมทารุขันสูตรที่ 4

อรรถกถาปฐมทารุขันธสูตรที่ 4


ในปฐมทารุขันธสุตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อทฺทสา ความว่า ประทับนั่ง บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้
ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว. บทว่า วุยฺหมานํ ได้แก่
ท่อนไม้ที่เขาถากเป็น. เหลี่ยมแล้ว กองไว้ระหว่างเขา แห้งสนิทดีเพราะ
ลมและแดด เมื่อเมฆฝนตกชุกก็ลอยขึ้นตามน้ำ ตกไปในกระแสแม่น้ำ
คงคาตามลำดับ ลอยไหลไปตามกระแสน้ำนั้น. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า เราจักแสดงกุลบุตรผู้บวช
ด้วยศรัทธา ในศาสนาของเรา กระทำให้เหมือนท่อนไม้นี้ ดังนี้แล้ว
จึงตรัสเรียกมา เพราะทรงประสงค์จะทรงแสดงธรรม. อนึ่ง เพราะ
นอกจากโทษ 8 ประการของท่อนไม้ที่ลอยไปตามกระแสน้ำ เพื่อจะทรง
แสดงโทษอีก 8 ประการอันจะกระทำอันตรายแก่ท่อนไม้ที่ลอยไปสู่สมุทร
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มพระดำรัสนี้ว่า อมุํ มหนฺตํ ทารุกฺขนฺธํ
คงฺคาย นทิยา โสเตน วุยฺหมานํ
ดังนี้ .
จริงอยู่ ต้นไม้ต้นหนึ่ง เกิดที่พื้นภูเขา ไม่ไกลแม่น้ำคงคา ถูก
เถาวัลย์ต่างๆพันไว้มีใบเหลือง ถูกปลวกเป็นต้นกัดกิน ก็ถึงความไม่มีบัญญัติ
( ตาย ) ในที่นั้นนั่นเอง ท่อนไม้นี้ลงสู่แม่น้ำคงคาแล้ว งดงามอยู่ในวังวน
ถึงสาครแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะงดงาม บนหลังคลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณี.