เมนู

ขัดกันในธาตุ ดังนี้แล้ว พิจารณาเสนาสนะ ไม่จงกรมหลับ เมื่อตื่นก็ถือ
มูลกรรมฐานไว้แล้วตื่น. เมื่อหลับด้วยอาการอย่างนี้ พึงทราบว่า เป็นผู้
มีสติสัมปชัญญะ.
ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวิปัสสนาอันส่วนเบื้องต้น
อันมีองค์ 3 ด้วยประการฉะนี้. ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ภิกษุยังไม่ถึง
ที่สุด ก็ชุมนุมอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ เหล่านั้นนั่นแล เจริญ
วิปัสสนา บรรลุพระอรหัต. พึงกล่าวเทศนา จนถึงพระอรหัต ดังกล่าวมา.
จบ อรรถกถารถสูตรที่ 2

3. กุมมสูตร


ว่าด้วยการคุ้มครองทวารในอินทรีย์


[320] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง
เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง
ก็ได้เที่ยวหากิน อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็น
สุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ 5 ทั้งหัว ( หดขาทั้ง 4
มีคอเป็นที่ 5 ) เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่
ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้
จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น เราจักงับมันฟาดแล้ว
กัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น

สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปผู้ปรากฏอยู่ใกล้พวกท่านเสมอ ๆ แล้ว
คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของ
ภิกษุเหล่านี้บ้าง เพราะฉะนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษา
จักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่น
ด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วย
ใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน
มนินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวลาในท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่
ได้โอกาส หลีกจากท่านทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีก
จากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
[321] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะ
และทิฏฐิไม่อิงอาศัยไม่เบียดเบียน ผู้อื่นดับกิเลสได้
แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใดผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและ
ขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น.

จบ กุมมสูตรที่ 3

อรรถกถากุมมสูตรที่ 3


ในกุมมสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า กุมฺโม แปลว่า เต่ามีกระดอง. บทว่า กจฺฉโป นี้ เป็น
ไวพจน์แห่งบทว่า กุมฺโม นั้นแล. บทว่า อนุนทีตีเร แปลว่า ที่ริมฝั่งแห่ง
แม่น้ำ. บทว่า โคจรปสุโต ความว่า เต่าคิดว่าถ้าเราจักได้ผลไม้น้อยใหญ่
ก็จักกิน จึงขยัน คือขวนขวาย สืบกันมาตามประเพณี. บทว่า สโมทหิตฺวา
ได้แก่ เหมือนใส่เข้าในกล่อง. บทว่า สงฺกสายติ แปลว่าย่อมปรารถนา
บทว่า สโมทหํ ได้แก่ ตั้งไว้ คือวางไว้. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ว่า
เต่า ตั้งอวัยวะทั้งหลายไว้ในกระดองของตน ไม่ให้โอกาสแก่สุนัขจิ้งจอก
และสุนัขจิ้งจอกก็ทำร้ายเต่าไม่ได้ฉันใด ภิกษุตั้งมโนวิตก ( ความตรึก
ทางใจ ) ของตนไว้ นกระดอง คืออารมณ์ของตน ไม่ให้โอกาสแก่กิเลสมาร
มารก็ทำร้ายภิกษุนั้นไม่ได้ฉันนั้น.
บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันนิสสัย คือตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
แล้ว. บทว่า อญฺญมเหฐยาโน ได้แก่ ไม่เบียดเบียนบุคคลไร ๆ อื่น
บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ดับสนิท ด้วยการดับกิเลสได้สนิท. บทว่า
น อุปวทเยฺย กญฺจิ ความว่า ไม่พึงว่าร้ายบุคคลไร ๆ อื่น ด้วยศีลวิบัติ
หรือด้วยอาจารวิบัติ ด้วยประสงค์จะยกตน หรือด้วยประสงค์จะข่มผู้อื่น
โดยที่แท้ ภิกษุตั้งธรรม 5 เข้าไว้ในตน อยู่ด้วยทั้งจิตที่ตั้งอยู่ในสภาวะ
อันยกขึ้นพูดอย่างนี้ว่า เราจะกล่าวตามกาล จะไม่กล่าวโดยมิใช่กาล
กล่าวด้วยคำเป็นจริง ไม่กล่าวด้วยคำไม่เป็นจริง กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน
ไม่กล่าวด้วยคำหยาบ กล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่กล่าวคุณ
ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. มีเมตตาจิต ไม่มากด้วยโทสจิตกล่าว
จบ อรรถกถากุมมสูตรที่ 3