เมนู

8. อาทิตตปริยายสูตร


ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย


[303] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม
ปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาทิตต-
ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจัก-
ขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิต
โดยอนุพยัญชนะในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณ
อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุ-
พยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น
ไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ 2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
โสตวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ
จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นอัน
ฆานวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีใน
นิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรส อันชิวหา
วิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต
หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล
พึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ 2 อย่าง คือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกาอินทรีย์ด้วยหอกอันคม ไฟติด
ลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะ อัน-
กายวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต
หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล
ทำกาลกิริยาในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ 2 อย่าง คือ นรก
หรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขึ้นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่า
เป็นหมันไร้ผล เป็นความงมงาย ของคนที่เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตก
เช่นใดแล้ว พึงทำลายหมู่ให้แตกกันได้ ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นความเป็นหมันอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของคน
ที่เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้.
[304] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน
ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
จักษุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัยไม่เที่ยง โสตินทรีย์ที่บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุก
โพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า โสตไม่เที่ยง
สัททะเสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่เที่ยง ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ฆานะจมูกไม่เที่ยง
คันธะกลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา
เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็
ไม่เที่ยง ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ชิวหาลิ้นไม่เที่ยง
รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะ
ไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ความ
หลับจงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า มนะใจไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์
แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมือเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่าอาทิตตปริยาย และธรรมปริยายฉะนี้แล
จบ อาทิตตปริยายสูตรที่ 8

อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ 8


ในอาทิตตปริยายสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนุพฺยญฺชโส นิมิตฺตคฺคาโห ความว่า ถือเอาโดยนิมิต
โดยแยกถือเป็นส่วน ๆ อย่างนี้ว่า มืองาม เท้างาม ดังนี้. ก็บทว่า
นิมิตฺตคฺคาโห ได้แก่ รวมถือเอา. บทว่า อนุพฺยญฺชคฺคาโห ได้แก่
แยกถือเอา. การถือเอาโดยนิมิต ก็เช่นเดียวกับร่างจระเข้ ย่อถือเอาทั้งหมด
ทีเดียว. การถือเอาโดยอนุพยัญชนะแยกถือเอาส่วนนั้น ๆ บรรดาส่วน
ทั้งหลายมีมือและเท้าเป็นต้น. ก็การถือเอานิมิตทั้ง 2 อย่างนี้ ย่อมได้แม้ใน
ชวนะวาระเดียว. ในชาวนะวาระต่าง ๆ ไม่จำต้องกล่าวถึง.
บทว่า นิมิตฺตสฺสาเทคธิตํ ได้แก่ เจริญ คือ ติดพันด้วยความ
ยินดีในนิมิต. บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ กรรมวิญญาณ. บทว่า ตสฺมึ
เจ สมเย กาลํ กเรยฺย
ความว่า ใคร ๆ ที่ชื่อว่า กำลังกระทำกาละ
ด้วยจิตอันเศร้าหมอง มีอยู่หามิได้. ด้วยว่าสัตว์ทั้งปวง ย่อมทำกาละ
ด้วยภวังคจิตเท่านั้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงภัยแห่งกิเลส จึง
ตรัสอย่างนั้น. อนึ่ง พระองค์ตรัสอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งสมัย. จริงอยู่
เมื่ออารมณ์ มาปรากฏในจักขุทวาร ราคจิตจิตที่กำหนัด ทุฏฐจิตจิตขัดเคือง
หรือมุฬหจิตจิตที่ลุ่มหลง ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์หยั่งลงสู่ภวังคจิตอยู่ใน
ภวังคจิตแล้ว ย่อมกระทำกาลกิริยา. ในสมัยนั้น บุคคลผู้ทำกาละ พึงหวัง
คติเป็นสอง. คำนั้น ตรัสด้วยอำนาจสมัยอันนี้.