เมนู

6. กามภูสูตร


ว่าด้วยปัญหาของพระกามภูภิกษุ


[299] สมัยหนึ่ง พระท่านอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ
โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจาก
ที่พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ จักษุเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ ฯลฯ ใจเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์ผูกเครื่องของ
ใจหรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านพระกามภู จักษุเป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะความ
พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมา-
รมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจ
และธรรมารมณ์นั้น ท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วย
สายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยว
เนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.

กา. ท่านพระอานนท์ ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว
ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคคำกับโคขาวนั้น เขาผูกติดกันด้วยสาย
คร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าวหรือเชือกเส้นเดียวกันนั้น เป็น
เครื่องผูกโคทั้งสองนั้นให้ติดกันฉันใด.
อา. ท่านกามภู ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของรูป รูปก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้นเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องผูกใจ
และอารมณ์นั้น.
จบ กามภูสูตรที่ 6

อรรถกถากามภูสูตรที่ 6


กามภูสูตรที่ 6 ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถากามสูตรที่ 6

7. อุทายีสูตร


ว่าด้วยปัญหาของพระอุทายีภิกษุ


[300] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายี อยู่ ณ
โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่