เมนู

6. กามภูสูตร


ว่าด้วยปัญหาของพระกามภูภิกษุ


[299] สมัยหนึ่ง พระท่านอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ
โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจาก
ที่พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ จักษุเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ ฯลฯ ใจเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์ผูกเครื่องของ
ใจหรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านพระกามภู จักษุเป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะความ
พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมา-
รมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจ
และธรรมารมณ์นั้น ท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วย
สายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยว
เนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.