เมนู

ชื่อว่า อตฺถิ มีอยู่ เพราะอรรถว่า ยังละกิเลสไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส อปฺปหีโน. บทว่า ปริตฺตา ความว่า
จริงอยู่รูปแม้ขนาดเท่าภูเขา คนไม่เห็น ไม่พอเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ชื่อว่า
เล็กน้อย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า รูปทั้งหลายแม้เห็นปานนั้น
ยังครอบงำจิตของผู้นั้นได้. บทว่า โก ปน วาโท อธิมตฺตานํ ความว่า
จะป่วยกล่าวไปไยเล่า ในคำที่ว่า อิฏฐารมณ์ อันเป็นวัตถุเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยินดี จักไม่ครอบงำจิตของเขา. ก็ในที่นี้วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ยินดี มีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ พึงทราบว่า
อารมณ์มีขนาดใหญ่ทั้งนั้น. บททั้ง 3 มีบทว่า ทหโร เป็นต้น เป็นไวพจน์
แห่งกันและกันนั่นแล. บทว่า ภินฺเทยฺย ความว่า พึงเฉาะ พึงกรีด.
จบ อรรถกถาขีรรุกขสูตรที่ 4

5. โกฏฐิกสูตร


ว่าด้วยปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิกภิกษุ


[295] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ
อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่าน
พระมหาโกฏฐิกะออกจากที่พักแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป
แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านพระสารีบุตร จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์.
เครื่องผูกของจักษุ หูเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของหู จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของจมูก ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของลิ้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะ
เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกาย ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหรือ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ท่านโกฏฐิกะ จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ
และรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น หูเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของหูหามิได้ แต่ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกหูและเสียงนั้น จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของจมูกหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจมูกและกลิ่น
นั้น ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของลิ้น
หามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นกับรสทั้งสอง
นั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกลิ้นและรสนั้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
โผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกายหามิได้ แต่ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้น เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกกายและโผฏฐัพพะนั้น ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันท-
ราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น
เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น .

[296] ท่านโกฏฐิกะ โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าว
หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับ
โคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.
ก. ท่านพระสารีบุตร ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว
ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้นเขาผูกติดด้วยสายคร่าว
หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าวหรือเชือกนั้นเป็นเครื่องผูกโคทั้งสอง
นั้นให้ติดกัน.
สา. ข้อนั้นฉันใด ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุ
เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.
[297] ท่านโกฏฐิกะ จักษุจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป หรือ
รูปจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ
พ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะจักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูก
ของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูก
จักษุและรูปนั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ

สิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ ฯลฯ ใจจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
ธรรมารมณ์ หรือธรรมารมณ์จักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ การอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะ
ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึง
ปรากฏ ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความ
พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.
[298] ท่านโกฏฐิกะ จักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระ-
องค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว โสตของพระผู้มี-
พระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ยังทรงฟังเสียงด้วยโสต แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฆานะของพระผู้-
มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงสูดกลิ่นด้วยฆานะ แต่พระองค์
ไม่มีฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ชิวหาของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยชิวหา แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว กายของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มนัสของพระผู้มี-
พระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมนัส แต่พระองค์
ไม่มีฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้
พึงทราบโดยปริยายนี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ
ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.
จบ โกฏฐิกสูตรที่ 5

อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ 5


ในโกฏฐิกสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตทุภยํ ตัดเป็น ตํ อุภยํ แปลว่า สูตรทั้ง 2 นั้น.
จบ อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ 5