เมนู

อรรถกถาพาลิสิกสูตรที่ 3


พาลิสิกสูตรที่ 3 มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบ อรรถกถาพาลิสิกสูตรที่ 3

4. ขีรรุกขสูตร


ว่าด้วยทรงเปรียบเทียบกิเลสกับยางไม้


[291] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจักษุวิญญาณพึงรู้แจ้ง
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป
อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุของภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงรูปอันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณี
นั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้. ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
ในธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ
โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมี
ประมาณน้อย มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น. ก็ยังครอบงำจิต
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมีประมาณ
ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ
โมหะนั้นไม่ได้.

[292] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือ
ต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวาน
อันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไร ๆ ยางพึงไหลออกหรือ. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้น เพราะอะไร.
ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจักขุ-
วิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุ
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้ จะป่วย
กล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ใน
โผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณ
พึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์
อันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้.

[293] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นละราคะ. โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณ
พึงรู้แจ้งซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมี
ประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ
โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด
รูปหนึ่งไม่มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์
อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในใจของภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงธรรมารมณ์อันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี
นั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว.
[294] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือ
ต้นมะเดื่อซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ เกินปีหนึ่ง บุรุษเอา
ขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไร ๆ ยางพึงไหลออกมาหรือ. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.
ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูป
อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในจักษุของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะ
ป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี
นั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ใน
โผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง
ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิต
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมี
ประมาณน้อย จักครองงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ
โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว.
จบ ขีรรุกขสูตรที่ 4

อรรถกถาขีรรุกขสูตร


ในขีรรุกขสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.