เมนู

คือกิเลส อนึ่งชื่อว่า สอุมฺมิ มีคลื่นก็โดยอำนาจความโกรธและความคับ
แค้น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อุมฺมิภยนฺติ โข ภิกฺขเว โกธุปายาสสฺ-
เสตํ อธิวจนํ
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า อุมฺมิภยํ ภัยคือคลื่นนี้แล เป็น
ชื่อ แห่งความโกรธและความคับแค้น ชื่อว่า สาวัฏฏะวังวนด้วยอำนาจกาม
คุณ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อาวฏฺฏํ วา โหติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺเนตํ
กามคุณานํ อธิวจนํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า อาวฏฺฏํ นี้เป็นชื่อ
กามคุณ 5. ชื่อว่า สคาหะ ชื่อว่า สรักขสะ ด้วยอำนาจแห่งมาตุคาม.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สรกฺขโส นี้แลเป็นชื่อ
มาตุคาม. แม้ในทวารที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สภยํ ทุตฺตรํ
อจฺจตริ
ความว่า ข้ามสมุทรที่มีภัย ด้วยภัยคือคลื่น ก้าวลงได้ยาก.
บทว่า โลกนฺตคู ได้แก่ถึงที่สุด แห่งสังขารโลก. บทว่า ปารคโตติ วุจฺจติ
ความว่า ท่านเรียกว่า ถึงพระนิพพาน.
จบ อรรถกถาปฐมสมุททสูตรที่ 1

2. ทุติยสมุททสูตร


ว่าด้วยสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า


[287] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า
สมุทร ๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสมุทรในวินัยของ
พระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่
เป็นห้วงน้ำใหญ่ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็นสมุทรในวินัย

ของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้ โดยมาก
เป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่ง
กระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ
วินิบาต สงสารไปได้ไม่ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็น
สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม-
โลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้
โดยมาก เป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปม
ประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย
ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่.
[288] บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้ง
ผีเสื้อน้ำ มีภัยคือคลื่น ที่ข้ามได้แสนยาก ได้แล้ว
เรากล่าวว่า บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ
ไม่มีอุปธิ และทุกข์ได้ขาดเพื่อไม่เกิดต่อไป ถึง
ความดับสูญ ไม่กลับมาเกิดอีก ลวงมัจจุราชให้
หลงได้.

จบ ทุติยสมุททสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยสมุททสูตรที่ 2


ในทุติยสมุททสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมุทฺโท ความว่า ชื่อว่า สมุททะ เพราะอรรถว่า ตั้งขึ้น
ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะอรรถว่า เปียกชุ่ม. บทว่า เยภุยฺเยน ความว่า
เว้นพระอริยสาวกทั้งหลาย. บทว่า สมุทฺทา ความว่า เปียก ชุ่ม จมน้ำ.
คำว่า กนฺตา กุลกชาตา เป็นต้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า มจฺจุชโห ได้แก่ละมัจจุทั้ง 3 แล้วอยู่. บทว่า นิรูปธิ ได้แก่
ไม่มีอุปธิ ด้วยอุปธิทั้ง 3. บทว่า อปุนพฺภวาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์
แก่พระนิพพาน. บทว่า อโมหยี มจฺจุราชํ ความว่า ไปทางข้างหลังพระยา
มัจจุราช โดยอาการที่พระยามัจจุราชไม่รู้คติของเขา.
จบ อรรถกถาทุติยสมุททสูตรที่ 2

3. พาลิสิกสูตร


ว่าด้วยเบ็ด 6 ชนิด


[289] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลง
ในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวหนึ่งกลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้นชื่อว่า
กลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ พรานเบ็ด
พึงกระทำได้ตามชอบใจฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้มีเบ็ดอยู่
6 ชนิดเหล่านี้ สำหรับนำสัตว์ทั้งหลายไป สำหรับฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เบ็ด 6 ชนิด คืออะไรบ้าง. คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้ง