เมนู

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้
ละได้ ก็เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้
คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์.
จบ ปฐมปริชานสูตรที่ 4

อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่ 4


ในปฐมปริชานสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า อนภิชานํ อปริชานํ อวิราชยํ อปฺปชหํ ได้แก่ ไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายความยินดี ไม่ละ. และในที่นี้ บทว่า อวิราเชนฺโต
ได้แก่ ไม่คลายความยินดี ไม่หายหิว. ดังนั้น ในพระสูตรนี้ เป็นอันตรัส
ปริญญาแม้ทั้งสาม. จริงอยู่ ด้วยคำว่า อภิชานํ ตรัสถึงญาตปริญญา
ด้วยคำว่า ปริชานํ ตรัสถึงตีรณปริญญา ด้วยสองคำว่า วิราชยํ ปชหํ
ตรัสถึงปหานปริญญา.
จบ อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่ 4

5. ทุติยปริชานสูตร


ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้


[29] ดูก่อนภิกษุทั้ง ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยัง
ไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร. บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยัง
ไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังคลายกำหนัดไม่ได้
ยังละไม่ได้ ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์.

ว่าด้วยผู้รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงได้


[ 30 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลาย
กำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งทั้งปวง คืออะไร. ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้
เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และ
ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ยิ่ง
กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์.
จบ ทุติปริชานสูตรที่ 5

อรรถกถาทุติยปริชานสูตรที่ 5


ในทุติยปริชานสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า จกฺขุวิญฺญาณวิญฺญาตพฺพา ธมฺมา ท่านแสดงถือเอา
เฉพาะรูปที่ถือเอาในหนหลัง หรือถือเอารูปที่ปรากฏในหนหลัง แต่ในที่นี้มี
ได้ปรากฏ แต่นี้ก็เป็นสันนิษฐานในข้อนี้. บทว่า อาปาถคตํ ได้แก่ถือ
เอารูปที่ไม่ปรากฏเท่านั้น แต่ในที่นี้หมายเอาขันธ์ 3 ที่สัมปยุตด้วยจักษุ
วิญญาณ. ด้วยว่าขันธ์เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า จกฺขุวิญฺญาตพฺพา
เพราะพึงรู้แจ้งพร้อมกับจักษุวิญาณ แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาทุติยปริชานสูตรที่ 5