เมนู

ราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึง
เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุเห็นเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความ
เห็นชอบ ภิกษุเมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.
จบ ทุติยนันทิขยสูตรที่ 2

3. ตติยนันทิขยสูตร


ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลินเพลิน


[247] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดย
อุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง
เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายย้อนแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุ
ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จงใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจ
ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.
จบ ตติยนันทิขยสูตรที่ 3

4. จตุตถนันทิขยสูตร


ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน


[248] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดย
อุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง
เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป
ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย จึงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอัน
แยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและ
ราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.
จบ จตุตถนันทิขยสูตรที่ 4