เมนู

อรรถกถาอันเตวาสิกสูตรที่ 6 เป็นต้น


ในอันเตวาสิกสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนนฺเตวาสิกํ ได้แก่เว้นจากกิเลสอันอยู่ในภายใน. บทว่า
อนาจริยกํ ได้แก่เว้นจากกิเลสอันมาจากภายนอก. บทว่า อนฺตสฺส วสนฺติ
ได้แก่ ย่อมอยู่ในภายในของผู้นั้น. บทว่า เต นํ สมุทาจรนฺติ ความว่า
อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ท่วมทับ ผู้นั้น หรือให้ผู้นั้นสำเหนียก
กิเลสเหล่านั้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเขา ด้วยอรรถว่าอบรม กล่าวคือให้
สำเหนียกดังนี้ว่า จงทำเวชกรรมอย่างนี้ จงทำทูตกรรมอย่างนี้. กิเลส
เหล่านี้ ย่อมชื่อว่า เป็นอาจารย์ดังนี้. อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้อันอาจารย์
เหล่านั้นทำให้เลื่อมใส. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล. สูตรที่ 7 มี่นัยดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาอันเตวาสิกสูตรที 6 - 7

8. ปริยายสูตร


ว่าด้วยเหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล


[239] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุมีหรือ ที่จะให้ภิกษุอาศัย
พยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากเชื่อผู้อื่น หรือเว้นจากความชอบใจ เว้นจาก
การฟังต่อ ๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจ
ความตามความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุ