เมนู

2. ปฐมสัปปายสูตร1


ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน


[232] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ
แก่นิพพาน แก่เธอท่งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้ ย่อม
เห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลายไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัส
ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า
ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน
สัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น เป็นปฏิปทาอันเป็น
สัปปายะแก่นิพพาน.
จบ ปฐมสัปปายสูตร 2

3. ทุติยสัปปายสูตร


ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน


[233] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ
แก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า
1. อรรถกถาสูตรที่ 2 - 5 แก้รวมกันไว้ท้ายสูตรที 5

จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ จักษุสัมผัสเป็นทุกข์
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ
สัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นทุกข์
ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ มโนวิญญาณเป็นทุกข์ มโนสัมผัสเป็นทุกข์ แม้
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ
แก่นิพพาน.
จบ ทุติยสัปปายสูตรที่ 3

4. ตติยสัปปายสูตร


ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน


[234] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ
แก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า
จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา จักษุสัมผัส
เป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า
ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโน-
สัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล
ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพาน.
จบ ตติยสัปปายสูตรที่ 4