เมนู

นวปุราณวรรคที่ 5



1. กรรมสูตร


ว่าด้วยกรรมเก่าและกรรมใหม่


[227] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า
ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลาย
จงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน.
จักษุอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว
สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่
ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า.
[228] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน. กรรมที่
บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่.
[229] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน.
นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม.
[230] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ 1 สัมมาสังกัปปะ 1
สัมมาวาจา 1 สัมมากัมมันตะ 1 สัมมาอาชีวะ 1 สัมมาวายามะ 1 สัมมาสติ 1
สัมมาสมาธิ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงความ
ดับแห่งกรรม.

[231] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่ง
กรรมและปฏิปทาอันให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความ
อนุเคราะห์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้ง
หลายจงพยายาม อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภาย
หลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
จบ กรรมสูตรที่ 1

นวปุราณวรรคที่ 5


อรรถกถากรรมสูตรที่ 1


นวปุราณวรรค กรรมสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า นวปุราณานิ แปลว่า ใหม่ และ เก่า. บทว่า จกฺขุํ
ภิกฺขเว ปุราณกมฺมํ
ความว่า จักษุ ไม่เป็นของเก่า. กรรมต่างหาก
เป็นของเก่า. แต่ท่านกล่าวอย่างนั้น ตามชื่อแห่งปัจจัยเพราะเกิดแต่กรรม.
บทว่า อภิสงฺขตํ ความว่า อันปัจจัยประชุมปรุงแต่งขึ้น. บทว่า
อภิสญฺเจตยิตํ ได้แก่สำเร็จด้วยเจตนา. บทว่า เวทนิยํ ทฏฺฐพฺพํ
ความว่า พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา. บทว่า นิโรธา วิมุตฺตึ ผุสติ
ความว่า นิโรธย่อมถูกต้องวิมุตติ เพราะกรรม 3 อย่างนี้ ดับไป. บทว่า
อยํ วุจฺจติ ความว่า นิโรธความดับ อันเป็นอารมณ์แห่งวิมุตตินั้น ท่าน
เรียกว่า กรรมนิโรธดับกรรม. ดังนั้น จึงตรัสวิปัสสนาอันเป็นบุพภาค
ส่วนเบื้องต้น ไว้ในพระสูตรนี้.
จบ อรรถกถากรรมสูตรที่ 1