เมนู

พระเถระแสดงว่า จิตของพราหมณ์เหล่านั้น ได้ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอุปจาร-
สมาธิและอัปปนาสมาธิ. บทว่า อขิลํ ได้แก่ อ่อน คือไม่แข็ง. ด้วยบทว่า
โส มคฺโค พฺรหฺมปตฺติยา พระเถระเมื่อแสดงว่า นั้นเป็นทางบรรลุถึง
พรหมผู้ประเสริฐ ก็พวกท่านเล่า ชื่อว่า เป็นพราหมณ์หรือ ดังนี้ จึงได้
กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า อคมํสุ นุ ขฺวิธ ตัดว่า อคมํสุ นุ โข อิธ. บทว่า
อธิมุจฺจติ ความว่า เป็นผู้น้อมไป คือติดอยู่ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า
พฺยาปชฺชติ ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเสียด้วยอำนาจพยาบาท. บทว่า ปริตฺต-
เจตโส
ได้แก่เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์ประมาณน้อย โดยเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
เหตุมีสติไม่ตั้งมั่น. บทว่า เจโตวิมุตฺติ ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า
ปญฺญาวิมุตฺติ ได้แก่ ผลปัญญา. บทว่า อปฺปมาณเจตโส ได้แก่ ผู้มีจิต
มีอารมณ์หาประมาณมิได้ โดยเป็นผู้มีจิตปราศจากกิเลศ เพราะเป็นผู้มี
สติตั้งมั่น.
จบ อรรถกถาโลหิจจสูตรที่ 9

10. เวรหัญจานีสูตร


ว่าด้วยการบัญญัติสุขและทุกข์


[210] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยย-
พราหมณ์ กามัณฑานคร ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณีผู้เป็น
เวรหัญจานิโคตร ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน
พระอุทายี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอุทายียังมาณพนั้นให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา ครั้งนั้นแล มาณพผู้อัน
ท่านพระอุทายีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมี-
กถาแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ ครั้น
แล้วได้กล่าวกะพราหมณีเวรหัญจานิโคตรว่า ขอแม่เจ้าท่านพึงทราบเถิด
พระสมณะอุทายีแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
สิ้นเชิง ดังนี้ พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า แน่ะมาณพ ถ้าอย่างนั้น
เธอจงนิมนต์พระสมณะอุทายีตามคำของเรา เพื่อฉันอาหารอันจะมีในวัน
พรุ่งนี้ด้วยเถิด มาณพนั้นรับคำของพราหมณีเวรหัญจานิโคตรแล้ว เข้าไป
หาท่านอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ขอท่านอุทายี
โปรดรับอาหารเพื่อฉันอันจะมีในวันพรุ่งนี้ ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร
ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพระอุทายีได้รับนิมนต์ด้วยดุษณี-
ภาพ ครั้งนั้น โดยราตรีนั้นล่วงไป ในเวลาเช้า ท่านพระอุทายีนุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร แล้วนั่งบน
อาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ครั้งนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรเลี้ยงดูท่าน
พระอุทายีให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือ
ของตนเองแล้ว ทราบว่าท่านพระอุทายีฉันแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ได้
สวมเขียงเท้านั่งบนอาสนะอันสูง คลุมศีรษะแล้ว ได้กล่าวแก่ท่านพระอุทายี
ว่า ท่านสมณะ ขอท่านจงกล่าวธรรม ท่านพระอุทายีกล่าวว่า น้องหญิง
เวลายังมี ดังนี้แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วหลีกไป.

[211] แม้ครั้งที่สอง มาณพนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึง
ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอุทายี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอุทายีได้
ยังมาณพนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา
แล้ว มาณพนั้นผู้อันท่านพระอุทายี ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ.
ให้รื่นเริงด้วยธรรมมีกถาแล้ว ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ เข้าไปหาพราหมณีเวร-
หัญจานิโคตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะพราหมณีเวรหัญจานิโคตรว่า
ขอแม่เจ้าท่านพึงทราบเถิด พระสมณะอุทายี แสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า
แน่ะมาณพ ก็เธอกล่าวคุณของพระสมณะอุทายีอย่างนี้ ๆ พระสมณะอุทายี
ถูกฉันขอให้ท่านกล่าวธรรมนี้ กลับกล่าวว่า น้องหญิง เวลายังมี ดังนี้
แล้ว ก็ลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไปเสีย มาณพนั้นกล่าวว่า แม่เจ้าท่าน
ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า แม่เจ้าสวมเขียงเท้า นั่งบนอาสนะสูง คลุม
ศีรษะแล้วได้กล่าว ขอให้ท่านกล่าวธรรม ด้วยว่าท่านผู้เจริญเหล่านั้น
เป็นผู้หนักในธรรม เป็นผู้เคารพธรรม พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าว
ว่า แน่ะมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์พระสมณะอุทายีตามคำของเรา
เพื่อฉันอาหารอันจะมีในวันพรุ่งนี้ มาณพนั้นรับคำของพราหมณีเวรหัญ-
จานิโคตรแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่าน
พระอุทายีว่า ขอท่านพระอุทายีโปรดรับอาหารเพื่อฉันอันจะมีในวันพรุ่งนี้
ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่าน

พระอุทายีรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้น โดยราตรีนั้นล่วงไป ในเวลา
เช้า ท่านพระอุทายีนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของ
พราหมณีเวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะอันเขาปูลาดไว้แล้ว ครั้งนั้น
พราหมณ์เวรหัญจานิโคตรเลี้ยงดูท่านพระอุทายีให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาท-
นียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนเองแล้ว ทราบว่า ท่านพระ-
อุทายีฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ได้ถอดเขียงเท้า นั่งบนอาสนะต่ำ
เปิดศีรษะแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านเจ้าข้า เมื่ออะไรหนอ
มีอยู่พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่ออะไรไม่มี พระอรหันต์
ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์.
[212] ท่านพระอุทายีตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เมื่อจักษุมีอยู่
พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อจักษุไม่มี พระอรหันต์
ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ เมื่อมีใจอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลาย
จึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อใจไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุข
และทุกข์.
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เวรหัญจานิโคตรได้
กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านอุทายีผู้เจริญ
ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรม และพระ-
ภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าอุทายีโปรดจำดิฉันไว้ว่าเป็นอุบาสิกา
ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นต้นไป.
จบ เวรหัญจานีสูตรที่ 10
คหปติวรรคที่ 3

อรรถกถาเวรหัญจานีสูตรที่ 10


ในเวรหัญจานีสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กามณฺฑาย ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนี้. บทว่า ยคฺเฆ
เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ทักท้วง คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาเวรหัญจานีสูตรที่ 10
จบ คหปติวรรคที่ 3


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. เวสาลีสูตร 2. วัชชีสูตร 3. นาฬันทาสูตร 4. ภารทวาช
สูตร 5. โสณสูตร 6. โฆสิตสูตร 7. หาลิททกานิสูตร 8. นกุลปิตุ
สูตร 9. โลหิจจสูตร 10. เวรหัญจานีสูตร