เมนู

พระเถระแสดงว่า จิตของพราหมณ์เหล่านั้น ได้ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอุปจาร-
สมาธิและอัปปนาสมาธิ. บทว่า อขิลํ ได้แก่ อ่อน คือไม่แข็ง. ด้วยบทว่า
โส มคฺโค พฺรหฺมปตฺติยา พระเถระเมื่อแสดงว่า นั้นเป็นทางบรรลุถึง
พรหมผู้ประเสริฐ ก็พวกท่านเล่า ชื่อว่า เป็นพราหมณ์หรือ ดังนี้ จึงได้
กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า อคมํสุ นุ ขฺวิธ ตัดว่า อคมํสุ นุ โข อิธ. บทว่า
อธิมุจฺจติ ความว่า เป็นผู้น้อมไป คือติดอยู่ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า
พฺยาปชฺชติ ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเสียด้วยอำนาจพยาบาท. บทว่า ปริตฺต-
เจตโส
ได้แก่เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์ประมาณน้อย โดยเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
เหตุมีสติไม่ตั้งมั่น. บทว่า เจโตวิมุตฺติ ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า
ปญฺญาวิมุตฺติ ได้แก่ ผลปัญญา. บทว่า อปฺปมาณเจตโส ได้แก่ ผู้มีจิต
มีอารมณ์หาประมาณมิได้ โดยเป็นผู้มีจิตปราศจากกิเลศ เพราะเป็นผู้มี
สติตั้งมั่น.
จบ อรรถกถาโลหิจจสูตรที่ 9

10. เวรหัญจานีสูตร


ว่าด้วยการบัญญัติสุขและทุกข์


[210] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยย-
พราหมณ์ กามัณฑานคร ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณีผู้เป็น
เวรหัญจานิโคตร ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน
พระอุทายี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร