เมนู

สัพพวรรคที่ 3



1. สัพพสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงสิ่งทั้งปวง


[24] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง. จักษุ
กับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับ
ธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธสิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้น
พึงเลื่อนลอย ดุจวัตถุเทพดา แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็ตอบไม่ได้ และจะ
อึดอัดใจยิ่งขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย.
จบ สัพพสูตรที่ 1

อรรถกถาสัพพสูตรที่ 1


สัพพวรรคที่ 3 สัพพสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว ชื่อว่า สัพพะ มี 4 อย่าง คือ
สัพพสัพพะ, อายตนสัพพะ, สักกายสัพพะ, ปเทสสัพพะ
ใน 4 อย่างนั้น
สัพพะว่าอะไร ๆ ที่พระองค์ไม่เคยเห็นในโลกนี้
ย่อมไม่มี ไม่รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ก็ไม่มี อนึ่งพระตถาคต
ทรงรู้ยิ่งถึงเนยยะ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด เพราะฉะนั้น
พระตถาคต จึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ.

ชื่อว่า สัพพสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ตํ
สุณาถ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอ
จงฟังสิ่งนั้น นี้ชื่อว่า อายตนสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ
โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลปริยาย
แห่งธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ นี้ชื่อว่า สักกายสัพพะ. สัพพะว่า สพฺพ-
ธมฺเมสุ วา ปฐมสมนฺนาหาโร อุปฺปชฺชติ จิตฺตํ มโน มานสํ
ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ
หรือว่า การรวบรวมใจครั้งแรก จิต มโน
มานัส มโนวิญญาณธาตุที่เกิดแต่จิตนั้น ย่อมเกิดขึ้นในธรรมทั้งปวง นี้
ชื่อว่า ปเทสสัพพะ.
ดังนั้นเพียงอารมณ์ 5 ชื่อว่า ปเทสสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปใน
ภูมิ 3 ชื่อว่า สักกายสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ 4 ชื่อว่า อายตน-
สัพพะ. เนยยะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัพพสัพพะ. ปเทสสัพพะ
ไม่ถึงสักกายสัพพะ, สักกายสัพพะ ไม่ถึงอายตนสัพพะ, อายตนสัพพะ
ไม่ถึงสัพพสัพพะ. เพราะเหตุไร. เพราะว่าธรรมชื่อนี้ที่ไม่เป็นอารมณ์
ของพระสัพพัญญุตญาณย่อมไม่มี. แต่ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา
อายตนสัพพะ.
บทว่า ปจฺจกฺขาย แปลว่า ปฏิเสธ. บทว่า วาจา วตฺถุเทวสฺส
ได้แก่ พึงเป็นเพียงวัตถุที่จะพึงกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น. พ้นอายตนะ 12 นี้
ไม่อาจแสดงได้ว่า ธรรมอื่นนี้ ชื่อว่า สภาวธรรม. บทว่า ปุฏฺโฐ จ น
สมฺปาเยยฺย
ความว่า เมื่อถูกถามว่าสิ่งอื่นคืออะไร ชื่อว่าสัพพะ ก็ไม่
สามารถจะตอบได้ว่าชื่อนี้. บทว่า วิฆาตํ อาปชฺเชยฺย ได้แก่ถึงความ

ลำบาก. บทว่า ตํ ในคำว่า ยถา ตํ ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ นี้เป็นเพียง
นิบาต. บทว่า ยถา เป็นคำบ่งเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ถูกถามใน
สิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. ความจริงสัตว์ทั้งหลายย่อมมีความคับแค้นใจในสิ่งที่ไม่ใช่
วิสัย. การเทินศิลาประมาณเท่าเรือนยอดข้ามน้ำลึก เป็นเรื่องไม่ใช่วิสัย.
การฉุดพระจันทร์พระอาทิตย์ลงมา ก็เหมือนกัน. เมื่อพยายามในสิ่งที่มิใช่
วิสัยนั้นย่อมลำบากแท้ อธิบายว่า ต้องลำบากในสิ่งที่มิใช่วิสัยแม้นี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาสัพพสูตรที่ 1

2. ปฐมปหานสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง


[ 25 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง
นั้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม
สำหรับละสิ่งทั้งปวงนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุ-
วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่
ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเป็นธรรม
สำหรับละสิ่งทั้งปวง.
จบ ปฐมปหานสูตรที่ 2