เมนู

ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุ
ปัจจัยอะไรหนอ. ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน เหตุ
ปัจจัยอะไร ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระ -
ภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่แลคฤหบดี ฯลฯ ( เหมือนสูตรที่ 1 ข้อที่ 132 ).
[204] อนึ่ง มีอยู่แล คฤหบดี ฯลฯ ( เหมือนสูตรที่ 1 ข้อที่191
และ 192 )
จบ นกุลปิตุสูตรที่ 8

9. โลหิจจสูตร


ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์ได้เป็นผู้สูงสุด


[205] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ ณ อรัญญกุฎี ใกล้
มักกรกฏนคร ในอวันตีชนบท ครั้งนั้น พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอัน
มาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของโลหิจจพราหมณ์ ได้พากันเข้าไปยังอรัญญกุฎี
ของท่านพระมหากัจจายนะ ครั้นแล้วพากันเดินตามกันไปมา เที่ยวตาม
กันไปรอบ ๆ กุฎีเล่นเสเลยยกกีฬามีเสียงเอ็ดอึงอึกทึกอยู่ว่า อันสมณะโล้น
เหล่านี้เป็นเชื้อแถวคฤหบดี เป็นคนดำ เป็นเหล่ากอพวกเกิดแต่เท้าแห่ง
พรหม อันชาวภารตะแว่นแคว้นเหล่านี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ยำเกรง ดังนี้.
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัจจายนะออกจากวิหารแล้ว ได้กล่าว
กะมาณพเหล่านั้นว่า ดูก่อนมาณพทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ส่งเสียงไป
เราจักกล่าวธรรมให้เธอทั้งหลายฟัง เมื่อท่านพระมหากัจจายนะกล่าวอย่าง
นี้แล้ว มาณพเหล่านั้นก็ได้พากันนิ่งอยู่ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจายนะ
ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า.

[206 ] พราหมณ์เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์
เก่า ๆ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สูงสุดโดยศีลมา
ก่อน ทวารทั้งหลายย่อมเป็นอันพราหมณ์เหล่านั้น
คุ้มครองแล้ว รักษาดีแล้ว เพราะครอบงำความ
โกรธเสียได้ พราหมณ์เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของ
พราหมณ์เก่าได้ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ประพฤติ
ในธรรม ( กุศลกรรมบถ ) และในฌาน พราหมณ์
เหล่าใดละเลยธรรมเหล่านี้เสีย เป็นผู้เมาด้วยโคตร
เป็นผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว มีอาชญาในตน
มากมาย ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีใจ
หวาดสะดุ้งและมั่นคง จึงประพฤติไม่เรียบร้อย การ
สมาทานวัตรทั้งปวง คือ การไม่กิน การนอนบน
พื้นดิน การอาบน้ำในเวลาเช้า และพระเวท 3
ของบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวาร เป็นการเปล่าผล
เหมือนทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันบุรุษได้แล้วในความ
ฝันฉะนั้น บริขารภัณฑ์เหล่านี้ คือ หนังเสือหยาบๆ
ชะฎา เหงือก มนต์ ศีลพรต ตบะ การล่อลวง
ไม่เท้าคด ๆ และการเอาน้ำลูบหน้าเป็นวรรณะของ
พวกพราหมณ์ การภาวนาเห็นแก่อามิส พวก
พราหมณ์ก็ทำกันแล้ว ส่วนจิตอันตั้งมั่นดีแล้ว อัน
ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ไม่เหี้ยมโหดในสัตว์ทั้งปวง
ข้อนั้นเป็นทางถึงพรหม.

[207] ครั้งนั้นแล มาณพเหล่านั้นขัดเคือง ไม่พอใจ ได้พากัน
เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะโลหิจจพราหมณ์ว่า
ขอท่านผู้เจริญพึงทราบเถิด พระสมณมหากัจจายนะขอดข้อนดำว่า ถึงมนต์
ของพราหมณ์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว เมื่อมาณพเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้
โลหิจจพราหมณ์ก็ขัดเคือง ไม่พอใจ ลำดับนั้น โลหิจจพราหมณ์จึงคิด
ดังนี้ว่า การที่เราพึงด่า พึงเหน็บแนม พึงบริภาษพระสมณมหากัจจายนะ
เพราะเชื่อฟังคำของมาณพเป็นแน่นอนนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย อย่ากระนั้น
เลย เราไปหาแล้วถามดูเถิด ครั้งนั้นแลโลหิจจพราหมณ์กับมาณพเหล่านั้น
ได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหา-
กัจจายนะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะ
ผู้เจริญ พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของ
ข้าพเจ้า ได้มาในที่นี้หรือหนอ ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูก่อน
พราหมณ์พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่าน
ได้มาแล้วในที่นี้.
โล. ท่านกัจจายนะได้ปราศัยอะไรกับมาณพเหล่านั้นบ้างหรือ.
ก. ดูก่อนพราหมณ์ อาตมาได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้น.
โล. ก็ท่านกัจจายนะได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างไรเล่า.
ก. ดูก่อนพราหมณ์ อาตมาได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้
ว่า.

พราหมณ์เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์
เก่า ๆ ได้ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สูงสุดโดยศีล
มาก่อนกว่า ฯลฯ ข้อนั้นเป็นทางถึงพรหม.

ดูก่อนพราหมณ์ อาตมาได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้แล.
โล. ท่านกัจจายนะได้กล่าวว่า ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ดังนี้
ท่านกัจจายนะ ด้วยเหตุมีเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้ม
ครองแล้ว.
ก. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้ง
ไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็นกามาวจร และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ตามความเป็นจริง ที่อกุศลบาปธรรมทั้งหลายเหล่านั้นบังเกิดขึ้นแล้วแก่
บุคคลนั้นไม่ดับไปโดยหาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว . . .สูดกลิ่นด้วย
จมูกแล้ว . . . ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมยินร้าย
ในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็น
กามาวจร ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ตามความเป็นจริง ที่บาป
อกุศลธรรมทั้งหลายบังเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น ไม่ดับไปโดยหาส่วนเหลือ
มิได้ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ด้วย
ประการอย่างนี้แล.

[208] ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญกล่าวว่า
ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านกัจจายนะได้
กล่าวว่า ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ บุคคลจึง
ชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว.
ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม
ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว
มีจิตมีอารมณ์หาประมาณมิได้อยู่ และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ตาม
ความเป็นจริง ที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลายบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ดับไป
โดยหาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว...สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...ลิ้มรส
ด้วยลิ้นแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว ย่อมไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์
ที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์หาประมาณมิได้อยู่ และ
รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริงที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย
บังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ดับไปโดยหาส่วนเหลือมิได้ ดูก่อนพราหมณ์
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล.
[209] ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญกล่าวว่า
เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ข้าแต่ท่านกัจจายนะ
ภาษิตของท่านไพเราะนัก ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ภาษิตของท่านไพเราะนัก
ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ท่านกัจจายนะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ
เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง
ประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่ท่าน

กัจจายนะ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น กับทั้งพระ-
ธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจายนะโปรดจำข้าพเจ้าว่า เป็น
อุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อนึ่ง
ขอท่านกัจจายนะโปรดเข้าไปสู่สกุลของโลหิจจพราหมณ์ เหมือนอย่างที่
ท่านกัจจายนะเข้าไปสู่สกุลอุบาสกทั้งหลายในมักกรกฏนครเถิด มาณพ
ทั้งหลายหรือมาณวิกาทั้งหลายเหล่าใดในสกุลของโลหิจจพราหมณ์นั้น จัก
กราบไหว้ จักลุกขึ้นต้อนรับท่านกัจจายนะ หรือจักนำอาสนะ จักถวายน้ำ
แก่ท่านกัจจายนะ สามีจิกรรม มีการกราบไหว้เป็นต้นนั้นจักมีประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แก่มาณพหรือมาณวิกาเหล่านั้น.
จบ โลหิจจสูตรที่ 9

อรรถกถาโลหิจจสูตรที่ 9


ในโลหิจจสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยด้งต่อไปนี้.
บทว่า มกฺกรกเฏ ได้แก่ ในนคร มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า
อรญฺญกุฏิกายํ ได้แก่ ในกุฎีโดดเดี่ยว ที่เขาสร้างไว้ในป่า ไม่ใช่กระท่อม
ที่อยู่ท้ายวิหาร. บทว่า อนฺเตวาสิกมาณวกา ความว่า แม้ชนเหล่าใด
เป็นคนแก่ในที่นั้น ชนเหล่านั้น ท่านเรียกว่า มาณพ เหมือนกัน เพราะ
เป็นอันเตวาสิก. บทว่า เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า มาณพเหล่านั้น
เรียนศิลปะแต่เช้า ครั้นเย็นคิดว่า เราจักนำฟืนมาให้อาจารย์ ดังนี้ เข้าป่า
แล้วเข้าไปทางกุฎีนั้น. บทว่า ปริโต ปริโต กุฏิกาย ความว่า โดยรอบ ๆ
กุฎีนั้น. บทว่า เสโลกสฺสกานิ ความว่า จับหลังกันและกันโดดเล่น
ให้กายร้อนเหงื่อไหลข้างโน้นข้างนี้.