เมนู

อรรถกถาหาลิททกานิสูตรที่ 7


ในหาลิททกานิสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มนาปํ อิตฺเถตนฺติ ปชานาติ ภิกษุย่อมรู้ชัดรูปที่น่าชอบใจ
ที่ใจเห็นแล้วว่ารูปนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น รูปนั้นเป็นอย่างนั้น0. รูปนั้นน่า
ชอบใจเหมือนกัน. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ สุขเวทนิยํ ผสฺสํ ปฏิจฺจ
ความว่า จักขุวิญญาณและผัสสะใดอันเป็นปัจจัย แก่สุขเวทนา โดยที่สุด
แห่งอุปนิสสยปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่งอนันตรปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่ง
สมนันตรปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่งสัมปยุตตปัจจัย คือ สุขเวทนาย่อม
เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะที่เสวยสุขเวทนานั้น ในบท
ทั้งปวงก็นัยนี้. เพราะเหตุนั้นในสูตรทั้งสองเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวกิริยามโนวิญญาณธาตุว่า ทำอาวัชชนกิจ หรือว่าท่านกล่าวมโนธาตุ
เท่านั้น โดยชื่อว่ามโนธาตุเสมอกัน.
จบ อรรถกถาหาลิททกานิสูตรที่ 7

8. นกุลปิตุสูตร1


ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน


[203] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน
อันเป็นที่พระราชทานอภัยแก่มฤค ใกล้สุงสุมารคิรินคร ในภัคคชนบท
ครั้งนั้นแล นกุลบิดาคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ
1. สูตรที่ 8 อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น.