เมนู

ในชวนกาล ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย บทว่า สุขา เวทนา ได้แก่
สุขเวทนา อาศัยผัสสะอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในชวนะ. แม้ในบทที่เหลือ ก็
นัยนี้เหมือนกัน ดังนั้นพระองค์ จึงตรัสธาตุ 23 ในพระสูตรนี้ . อย่างไร.
จริงอยู่ในที่นี้ จักขุปสาท เป็นจักขุธาตุ อารมณ์อันกระทบจักขุปสาท
นั้นเป็นรูปธาตุ จักขุวิญญาณ เป็นวิญญาณธาตุ ขันธ์ 3 ที่เกิดพร้อม
กับจักขุวิญญาณธาตุ เป็นธรรมธาตุ. เป็นธาตุ 20 คือ ในทวารทั้ง 5
ทวารละ 4 อาวัชชนจิต ท่านถือว่า มโนธาตุ ในมโนทวาร ด้วยประการ
ฉะนี้. อารมณ์และหทัยวัตถุ. เป็นธรรมธาตุ จิตที่อาศัยหทัยวัตถุ เป็นมโน-
วิญญาณธาตุ รามเป็นธาตุ 23 ด้วยประการฉะนี้ ท่านแสดงไว้ว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสความต่างแห่งธาตุ ด้วยอำนาจธาตุ 23 ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ 6

7. หาลิททกานิสูตร


ว่าด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งความแตกต่างแห่งเวทนาเป็นต้น


[201] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่เรือนสกุล ใกล้
สังปวัตตบรรพต ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคฤหบดีเข้าไป
หาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหา
กัจจายนะว่า พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ
ดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ
อาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ
อาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ อย่างไรหนอ.

[202] ท่านมหากัจจายนะตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้น่าพอใจ สุข-
เวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนา อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุอย่างนั้นแล้วย่อมรู้ชัดว่า รูป
อย่างนี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและ
ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย
จักษุอย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุข-
เวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู
แล้ว . . . สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว . . . ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์
อย่างนี้น่าพอใจ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนวิญญาณและ
ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา อนึ่งภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจอย่างนี้
แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์นี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ภิกษุรู้
แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์อย่างนี้เป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนวิญญาณ
และผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี ความต่างกัน
แห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกัน
แห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ด้วย
ประการอย่างนี้แล.
จบ หาลิททกานิสูตรที่ 7

อรรถกถาหาลิททกานิสูตรที่ 7


ในหาลิททกานิสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มนาปํ อิตฺเถตนฺติ ปชานาติ ภิกษุย่อมรู้ชัดรูปที่น่าชอบใจ
ที่ใจเห็นแล้วว่ารูปนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น รูปนั้นเป็นอย่างนั้น0. รูปนั้นน่า
ชอบใจเหมือนกัน. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ สุขเวทนิยํ ผสฺสํ ปฏิจฺจ
ความว่า จักขุวิญญาณและผัสสะใดอันเป็นปัจจัย แก่สุขเวทนา โดยที่สุด
แห่งอุปนิสสยปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่งอนันตรปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่ง
สมนันตรปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่งสัมปยุตตปัจจัย คือ สุขเวทนาย่อม
เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะที่เสวยสุขเวทนานั้น ในบท
ทั้งปวงก็นัยนี้. เพราะเหตุนั้นในสูตรทั้งสองเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวกิริยามโนวิญญาณธาตุว่า ทำอาวัชชนกิจ หรือว่าท่านกล่าวมโนธาตุ
เท่านั้น โดยชื่อว่ามโนธาตุเสมอกัน.
จบ อรรถกถาหาลิททกานิสูตรที่ 7

8. นกุลปิตุสูตร1


ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน


[203] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน
อันเป็นที่พระราชทานอภัยแก่มฤค ใกล้สุงสุมารคิรินคร ในภัคคชนบท
ครั้งนั้นแล นกุลบิดาคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ
1. สูตรที่ 8 อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น.