เมนู

ในชวนกาล ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย บทว่า สุขา เวทนา ได้แก่
สุขเวทนา อาศัยผัสสะอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในชวนะ. แม้ในบทที่เหลือ ก็
นัยนี้เหมือนกัน ดังนั้นพระองค์ จึงตรัสธาตุ 23 ในพระสูตรนี้ . อย่างไร.
จริงอยู่ในที่นี้ จักขุปสาท เป็นจักขุธาตุ อารมณ์อันกระทบจักขุปสาท
นั้นเป็นรูปธาตุ จักขุวิญญาณ เป็นวิญญาณธาตุ ขันธ์ 3 ที่เกิดพร้อม
กับจักขุวิญญาณธาตุ เป็นธรรมธาตุ. เป็นธาตุ 20 คือ ในทวารทั้ง 5
ทวารละ 4 อาวัชชนจิต ท่านถือว่า มโนธาตุ ในมโนทวาร ด้วยประการ
ฉะนี้. อารมณ์และหทัยวัตถุ. เป็นธรรมธาตุ จิตที่อาศัยหทัยวัตถุ เป็นมโน-
วิญญาณธาตุ รามเป็นธาตุ 23 ด้วยประการฉะนี้ ท่านแสดงไว้ว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสความต่างแห่งธาตุ ด้วยอำนาจธาตุ 23 ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ 6

7. หาลิททกานิสูตร


ว่าด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งความแตกต่างแห่งเวทนาเป็นต้น


[201] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่เรือนสกุล ใกล้
สังปวัตตบรรพต ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคฤหบดีเข้าไป
หาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหา
กัจจายนะว่า พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ
ดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ
อาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ
อาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ อย่างไรหนอ.