เมนู

5. โสณสูตร1


ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน


[199] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่า
โสณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค-
เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอที่สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน และเหตุปัจจัยอะไร ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่แล .คฤหบดี
บุตร ฯลฯ ( เหมือนสูตรที่ 1 ข้อที่ 191 และ 192 )
จบ โสณสูตรที่ 5

6. โฆสิตสูตร


ว่าด้วยความแตกต่างแห่งธาตุ


[200] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล โฆสิตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ
ครั้นแล้ว ได้ถามพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ที่เรียกว่าความ
แตกต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความแตกต่างแห่งธาตุไว้
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี มีอยู่แล
1. อรรถกถาแก้ว่า ง่ายทั้งนั้น.

จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจและจักขุวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอัน
ไม่น่าพอใจและจักขุวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขาและจักขุวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่พรอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี โสตธาตุ . . .
ฆานธาตุ . . . ชิวหาธาตุ . . . กายธาตุ . . . มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
และมโนวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
และมโนวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่
ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขาและมโนวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสความต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
จบ โฆสิตสูตรที่ 6

อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ 6


ในโฆสิตสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รูปา จ มนาปา ได้แก่ รูปที่น่าชอบใจ มีอยู่. บทว่า
จกฺขุวิญฺญาณญฺจ ได้แก่ จักขุวิญญาณมีอยู่ บทว่า สุขเวทนิยํ ผสฺสํ
ได้แก่ ผัสสะ อันเป็นปัจจัย แก่สุขเวทนาอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ