เมนู

อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวสังโยชน์ในรูปนั้น
ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์นั้น เป็นตัว
สังโยชน์ในธรรมารมณ์นั้น.
จบ สังโยชนสูตรที่ 9

10. อุปาทานสูตร


ว่าด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน


[190] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟังธรรม
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน
นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวอุปาทาน
ในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอัน
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์
นั้น เป็นตัวอุปาทานในธรรมารมณ์นั้น.
จบ อุปาทานสูตรที่ 10
โลกกามคุณวรรคที่ 2