เมนู

บทว่า อเนกานิ เทวตาสหสฺสานิ ความว่า ก็ในบรรดาเทวดา
ผู้ตั้งความปรารถนากับท่านพระราหุลผู้ตั้งความปรารถนา ในรัชกาลแห่ง
พระเจ้าปาลิตนาคราช แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุ-
มุตตระ บางพวกเกิดเป็นภุมมัฏฐกเทวดา บางพวกเกิดเป็นอันตลิกขัฏฐ-
เทวดา บางพวกเกิดเป็นจาตุมหาราชกเทวดา บางพวกเกิดในเทวโลก
บางพวกเกิดในพรหมโลก. ก็ในวันนี้ เทวดาทั้งหมด ประชุมกันในอัน-
ธวันนั้นเอง ในที่แห่งหนึ่ง.
บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ความว่า ในพระสูตรนี้ มรรค 4 ผล 4 พึง
ทราบว่า ธรรมจักขุ. จริงอยู่ในพระสูตรนั้น เทวดาบางพวก ได้เป็น
พระโสดาบัน บางพวก เป็นพระสกทาคามี บางพวก พระอนาคามี
บางพวก พระขีณาสพ อนึ่ง เทวดาเหล่านั้น นับไม่ได้ว่า มีประมาณ
เท่านี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาราหุลสูตรที่ 8

9. สังโยชนสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์


[189] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟังธรรม
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์
นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวสังโยชน์ในรูปนั้น
ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์นั้น เป็นตัว
สังโยชน์ในธรรมารมณ์นั้น.
จบ สังโยชนสูตรที่ 9

10. อุปาทานสูตร


ว่าด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน


[190] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟังธรรม
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน
นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวอุปาทาน
ในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอัน
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์
นั้น เป็นตัวอุปาทานในธรรมารมณ์นั้น.
จบ อุปาทานสูตรที่ 10
โลกกามคุณวรรคที่ 2