เมนู

บทว่า อเนกานิ เทวตาสหสฺสานิ ความว่า ก็ในบรรดาเทวดา
ผู้ตั้งความปรารถนากับท่านพระราหุลผู้ตั้งความปรารถนา ในรัชกาลแห่ง
พระเจ้าปาลิตนาคราช แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุ-
มุตตระ บางพวกเกิดเป็นภุมมัฏฐกเทวดา บางพวกเกิดเป็นอันตลิกขัฏฐ-
เทวดา บางพวกเกิดเป็นจาตุมหาราชกเทวดา บางพวกเกิดในเทวโลก
บางพวกเกิดในพรหมโลก. ก็ในวันนี้ เทวดาทั้งหมด ประชุมกันในอัน-
ธวันนั้นเอง ในที่แห่งหนึ่ง.
บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ความว่า ในพระสูตรนี้ มรรค 4 ผล 4 พึง
ทราบว่า ธรรมจักขุ. จริงอยู่ในพระสูตรนั้น เทวดาบางพวก ได้เป็น
พระโสดาบัน บางพวก เป็นพระสกทาคามี บางพวก พระอนาคามี
บางพวก พระขีณาสพ อนึ่ง เทวดาเหล่านั้น นับไม่ได้ว่า มีประมาณ
เท่านี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาราหุลสูตรที่ 8

9. สังโยชนสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์


[189] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟังธรรม
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์
นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก