เมนู

8. ราหุลสูตร


ว่าด้วยสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์


[187] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่าง
นี้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราควร
แนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไปเถิด ครั้นทรงพระดำริฉะนี้
แล้ว ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือ
บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต
เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า ราหุล
เธอจงถือผ้านิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักในกลางวัน.
ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ถือผ้า
นิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ก็สมัยนั้น พวกเทวดา
หลายพันติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปด้วยคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป.
[188] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน
ประทับ ณ พุทธอาสน์ที่พระราหุลปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่าย
ท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถานว่า ดูก่อนราหุล เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบ
ทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. จักษุวิญญาณ...จักษุสัมผัส...เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส
ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโน-
วิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชมยินดีพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิต
นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ฝ่ายเทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา.
จบ ราหุลสูตรที่ 8

อรรถกถาราหุลสูตรที่ 8


ในราหุลสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า วิมุตฺติปริปาจนียา ความว่า ชื่อว่า วิมุตฺติปริปาจริยา
เพราะอรรถว่า บ่มวิมุตติ บทว่า ธมฺมา ได้แก่ธรรม 15 ธรรมเหล่านั้น