เมนู

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่
เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น
อยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อม
ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูก่อนปัญจสิขะ เหตุปัจจัย
นี้แล เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน.
จบ ปัญจสิขสูตรที่ 6

7. สารีปุตตสูตร


ว่าด้วยผู้คุ้มครองทวารอินทรีย์ได้ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้


[183] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง
เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้น
ผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิ
วิหาริกของท่านลาสิกขาสึกเสียแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ผู้ที่ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ย่อม
เป็นเช่นนี้แหละ ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร จักประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะ

ที่จะมีได้ ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้
ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[184] ดูก่อนผู้มีอายุ ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลายอย่างไร ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำ ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น . . . ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ
อนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสดรอบงำ ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุ
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล.
[185] ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร
ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมามัว ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง
ย่อมฉันเพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไป เพื่อ
กำจัดความเบียดเบียน เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า
เพราะเหตุที่ฉันอาหารนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนา

ใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายเป็นไปได้นาน ความไม่มีโทษและความ
อยู่สำราญจักมีแก่เรา ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
อย่างนี้แล.
[186] ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร
ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมอันกั้น
จิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่ง
ราตรี ในมัชฌิมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อน
เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำในใจถึงสัญญาจำหมายที่จะลุกขึ้น
รีบลุกขึ้นในปัจฉิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิต
ทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความ
เพียรอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา
จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
จักเป็นผู้ประกอบความเพียร ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
แล.
จบ สารีปุตตสูตรที่ 7

อรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ 7


ในสารีปุตตสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สนฺตาเนสฺสติ ได้แก่จักพยายาม คือไม่ให้ถึงการตัดขาด.
จบ อรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ 7