เมนู

5. สักกสูตร


ว่าด้วยทรงแก้ปัญหาของท้าวสักกะ


[ 177 ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา
ทั้งหลาย เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็น
เครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัย
อะไร ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.
[178] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนท่านจอมเทพ รูปที่
จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัย
ความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ
หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพัน
รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็
ย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยใจ อันน่าปรารถนา . น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่
ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพัน
ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์
นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น.
ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูก่อนท่านจอมเทพ
เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน.

[179] ดูก่อนท่านจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น วิญญาณ
อันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้
ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพ้น
ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน
ธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัย
ตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูก่อน-
ท่านจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน.
จบ สักกสูตรที่ 5

อรรถกถาสักกสูตรที่ 5


ในสักกสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า
ปรินิพฺพายนฺติ ได้แก่ ย่อมปรินิพพาน ด้วยการดับสนิทซึ่งกิเลส. บทว่า
ตํ นิสฺสิตํ วิญฺญาณํ โหติ ได้แก่ กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา.
จบ อรรถกถาสักกสูตรที่ 5